วานนี้(21 มิถุนายน) ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายอากาศสะอาดประเทศไทย ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และกว่า 30 องค์กร ร่วมนำแถลงการณ์เรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อย่าปัดตกร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ โดยมี นายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับหนังสือ
.
สำหรับแถลงการณ์ดังกล่าว มีผู้ที่ได้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแนบท้ายแถลงการณ์ฯ มาแล้ว ประกอบด้วยองค์กร หน่วยงาน กลุ่มต่างๆ ที่เป็นภาดีเครือข่าย สหภาพ ชุมชน เอกชน นักวิชาการ และบุดคลทั่วไป จำนวนกว่า 700 ราย ร่วมยื่นแถลงการณ์ฯ เพื่อแสดงออก ให้เห็นถึ “ความมีอยู่” ของสิทธิของประชาชน และ “การใช้สิทธิ” ของประชาชนในการ”ปกป้องลมหายใจในอากาศสะอาด”ของตัวเองและของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งปวงในภาพรวม หลังจากที่ได้เคยนำเสนอต่อสู้เรียกร้องในเรื่องนี้มาอย่างยาวนานกว่า 4 ปี นับแต่ปัญหามลพิษทางอากาศและ PM 2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุของการตายก่อนวัยอันควร
.
โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และผู้ทำงานกลางแจ้งประเด็นที่สร้างความกังวลอย่างยิ่งในเวลานี้ คือ มีแนวโน้มที่นายกรัฐมนตรีจะไม่รับรองร่างพรบ.ของ เครือข่ายอากาศสะอาดฯ แต่จะรับรองร่างของพรรคการเมืองบางพรรด หรือมีแนวโน้มว่านายกรัฐมนตรีจะปัดตกร่างกฎหมายอากาศสะอาดทุกฉบับ แล้วให้รัฐบาลยกร่างขึ้นมาใหม่โดยยึดร่างของสภาหอการค้าฯ มาเป็นหลัก!!!!
.
ข้อเรียกร้อง คือ อย่าปัดตกร่างพรบ.อากาศสะอาด ฉบับเครือข่ายอากาศสะอาด ซึ่งเป็นฉบับประชาชนเข้าชื่อ และได้ศึกษาออกแบบมาอย่างรอบด้านในการแก้ปัญหาเชิงระบบ แต่ควรเปิดโอกาสให้ร่างดังกล่าวผ่านเข้าไปสู่การพิจารณาของรัฐสภา เป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ของ
ประชาชน หากรัฐบาลประสงค์จะยื่นร่างของรัฐบาลเพื่อประกบ ก็ควรเปิดโอกาสให้ร่างทั้งสองฉบับได้เข้าไป พิจารณาร่วมกันรัฐสภาโดยการตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีโอกาสได้ทำหน้าที่ในการ
.
พิจารณากลั่นกรอง อภิปราย แลกเปลี่ยน และชั่งน้ำหนักเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อกฎหมายอากาศสะอาดจะได้มีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วน รอบด้าน บูรณาการ สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
.
นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารควรใช้กลไกของฝ่ายบริหารในสัดส่วนที่เหมาะสม คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ ให้น้ำหนักแก่ความเป็นความตายของประชาชนอยู่เหนือกว่า ผลประโยชน์ของธุรกิจ หากยังมีความเห็นต่างในทิศทางการพัฒนากลไกทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ควรปล่อยให้กลไกของ รัฐสภาในฐานะผู้แทนของประชาชนได้ทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ มากกว่าจะใช้กลไก ของฝ่ายบริหาร
ข้อเรียกร้องอีกประการหนึ่ง คือ ขอให้นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่ให้ความเห็นแก่
.
นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้รอบคอบถึงเหตุผลและความจำเป็นของการที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมี อากาศสะอาดให้ประชาชนหายใจอย่างปลอดภัย โดยอาศัยกฎหมายอากาศสะอาด ที่ไม่ใช่แค่มีชื่อหน้าปก แต่แก้ปัญหาไม่ได้ แต่ต้องเป็นกฎหมายอากาศสะอาดที่มีการจัดการเชิงระบบ เนการบูรณาการ และการจัดการร่วมที่มองเรื่องอากาศทั้งในมิติสุขภาพและมิติสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน สามารถแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ตกอยู่ในวังวนเดิม ภายใต้โครงสร้างและระบบการทำงานแบบเดิม ที่ทำให้มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดแบบที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน
.
- Advertisement -