หน้าแรกการเมืองจวก!!'พิธา'ไม่เหลือน้ำใจให้ข้าราชการ จับประเด็น'เบี้ยบำนาญ'หวังโจมตีรัฐบาล-หาเสียง

จวก!!’พิธา’ไม่เหลือน้ำใจให้ข้าราชการ จับประเด็น’เบี้ยบำนาญ’หวังโจมตีรัฐบาล-หาเสียง

จากกรณีการที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์​ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายในที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 โดยในช่วงหนึ่งในทำนองว่า เงินบำนาญคือตัวปัญหาของการพัฒนาประเทศ และควรจัดงบประมาณส่วนนั้น
.
ล่าสุดนายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า สวัสดิการ ข้าราชการ Vs ประชาชน” ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีให้กับประชาชน  รัฐสวัสดิการเป็นแนวคิดที่ประเทศทุนนิยมนำมาใช้เพื่อแก้ข้อบกพร่องของระบบทุนนิยม กล่าวคือ การเก็บภาษีผู้มีรายได้สูงในอัตราที่สูง เพื่อนำไปใช้เป็นสวัสดิการสังคม แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากสวัสดิการนั้น ต้องเป็นประชาชนผู้ที่เสียภาษีเช่นกัน เพราะเงินภาษีเหล่านั้น จะกลับมาเป็นเงินทุนเพื่อให้รัฐมีรายได้นำไปใช้จ่ายในการจัดทำ “รัฐสวัสดิการ”เพื่อให้บริการสาธารณะต่าง ๆ แก่ประชาชน
.
นั้นหมายความว่า ถ้าประชาชนคนใดไม่เคยเสียภาษี(เงินได้)กับรัฐเลย ย่อมขาดคุณสมบัติในการได้รับ สวัสดิการจากรัฐ รัฐสวัสดิการ หรือ welfare  state  หมายถึง  รัฐหรือประเทศที่รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนในประเทศอย่างจริงจังและเป็นระบบ  โดยให้ประชาชนได้รับบริการด้านต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน  เช่น  การศึกษา  การรักษาพยาบาล  ที่อยู่อาศัย  การคมนาคมขนส่ง  ซึ่งบริการต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเป็นบริการแบบให้เปล่าหรือคิดค่าบริการในอัตราต่ำ
.
ในวันที่จะเล่าถึงเฉพาะที่เป็นประเด็นข่าว เรื่องเงินบำเหน็จบำนาญและเบี้ยผู้สูงอายุ สวัสดิการข้าราชการ รัฐบาลตั้งงบประมาณในปี 2566 จำนวนมาก 481,254.9 ล้านบาทเพื่อเป็นสวัสดิการข้าราชการ อันประกอบด้วย ข้าราชการประจำอยู่ราว 1.2 ล้านคน และเป็นข้าราชการบำเหน็จบำนาญเกษียณราชการราว 8 แสนคน นอกจากนี้ยังมีลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ และพนักงานจ้างของรัฐ ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการจำนวน 7.6 แสนคน
.
สวัสดิการประชาชน รัฐบาลตั้งงบประมาณในปี 2566 เป็นสวัสดิการของประชาชน 468,850.4 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าของราชการเล็กน้อย สำหรับดูแลประชากรราว 60 กว่าล้านคน
.
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ Vs เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของประชาชน

ในจำนวนงบประมาณดังกล่าว, งบประมาณ 322,790 ล้านบาทถูกตั้งไว้เพื่อจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณราชการราว 8 แสนคน เฉลี่ยคนละ 30,000 บาท/เดือน ในขณะที่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของประชาชนใช้งบประมาณ 87,580.1 ล้านบาท เพื่อจัดเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท/เดือน ตามช่วงอายุแก่ผู้สูงอายุ 10 ล้านคน
.
พิธา อภิปราย เงินบำเหน็จบำนาญและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อการเอาใจประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ แต่เทข้าราชการซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศ เพื่อหวังคะแนนเสียง หรือไม่ นักการเมืองผู้เป็นฝ่ายค้านอย่างนายพิธา จับประเด็นนี้มาโจมตีรัฐบาล เพื่อหาเสียงกับคน 60 กว่าล้านคน โดยไม่เหลือน้ำใจให้กับข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานจ้างของรัฐและข้าราชการบำนาญ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ทำงานให้กับรัฐและให้บริการประชาชน ที่สำคัญเป็นกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อตอบสนองนโยบายของข้าราชการการเมือง หรือ?
.
เป็นที่ทราบกันอย่างดีโดยทั่วกันว่า ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานจ้างของรัฐ กินเงินเดือนที่ต่ำกว่าพนักงานบริษัทเอกชนตลอดอายุการทำงาน ซึ่งอัตราจ้างที่ต่ำกว่าราคาตลาดนี้ เป็นเหมือน…การหักเงินเดือนล่วงหน้าเพื่อสบทบทุนไว้เป็นสวัสดิการในภายหลัง
.
ดังนั้น เงินบำเหน็จบำนาญหลังเกษียณ หรือสวัสการในการรักษาพยาบาล ก็คือเงินเดือนของข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานจ้างของรัฐ  ที่ถูกหักเอาไว้รายเดือน นับตั้งแต่วันเริ่มงานจนถึงวันเกษียณ ในขณะที่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานกับหน่วยงานราชการนั้น เท่ากับไม่เคยทำประโยชน์กับงานราชการและไม่เคยถูกหักเงินใดๆ เพื่อสมทบทุนไว้เป็นเงินสวัสดิการในอนาคตเลย
.
แบบนี้นายพิธา จะพูดเอาใจประชาชนทั่วไป ซึ่งถือว่าคนนอก แล้วทำร้ายจิตใจคนที่ทำงานให้กับรัฐและนักการเมือง ซึ่งถือเป็นคนใน อย่างนั้นหรือ? เห็นตัวเลขข้าราชการ 2 ล้านคน กับประชาชน 60 กว่าล้านคน ก็เลยเลือกเอาใจ 60 กว่าล้านเสียงเพื่อหาคะแนนเสียง อย่างนั้นหรือ ผมไม่ได้บอกว่า ให้ละเลยต่อสวัสดิการของประชาชน ผมไม่ได้บอกว่า เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท/เดือน นั้นเพียงพอหรือเหมาะสม แน่นอนว่า ไม่เพียงพอ และควรจะเพิ่มขึ้น แต่มันต้องค่อยเป็นค่อยไป
.
ยอดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท/เดือน จะเพิ่มขึ้นได้นั้น ส่วนหนึ่ง ต้องมาจากกการเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย จากประชาชนทุกคนที่มีหน้าที่เสียภาษี นั้นหมายความว่า ในช่วงวัยทำงาน ประชาชนทุกคนที่มีหน้าที่เสียภาษี ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อการจ่ายภาษีให้ถูกต้องด้วย ไม่ใช่ตลอดวัยทำงาน จ่ายภาษีต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่จ่ายเลย แต่เมื่อเกษียณอายุแล้ว กลับมาเรียกร้องสวัสดิการจากรัฐ ทั้งที่ไม่จ่ายภาษีตามความเป็นจริงหรือไม่เคยจ่ายภาษีให้รัฐเลย
.
พิธากล่าวว่า หากทำบำนาญแบบไม่มีแหล่งรายได้เลย หนี้สาธารณะจะน่ากลัวมาก ความจริงบำเหน็จบำนาญ มีแหล่งที่มาจากการรหักภาษีจากข้าราชการและการจ่ายเงินเดือนที่ต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งเปรียบเสมือนการหักเงินเอาไว้เป็นสวัสดิการล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่เบี้ยผู้สูงอายุ แทบจะไม่มีแหล่งรายได้เลย ดังนั้นหนี้สาธารณะจะน่ากลัวมากตามที่พิธากล่าวไว้ตั้งแต่ต้น จริงหรือไม่ !
.

ThePOINT #ข่าวการเมือง #พิธาลิ้มเจริญรัตน์​ #ก้าวไกล #พรบงบประมาณ #เงินบำนาญ #อัษฎางค์ยมนาค

Must Read

Related News

- Advertisement -