.
ดาราสาวซุปเปอร์สตาร์ชื่อดัง “ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต”ได้โพสต์ข้อความรีวิวการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างละเอียดยิบ โดยมีแคปชั่นว่า “รีวิวค่ะ นั่งพิมพ์อยู่ 3 ชม.กว่า ทบทวนหลายรอบ ก็ยังมีพลาด (ดึกมากเเล้ว มึนค่ะ 555 )แต่หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจถึง key message ของชมนะคะ”
.
พร้อมข้อความระบุว่า สวัสดีค่ะ รีวิวการฉีดวัคซีน sinovac ค่ะ … ก่อนอื่นขอแชร์ว่า ส่วนตัวตัดสินใจแน่วแน่ที่จะรับวัคซีน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดตอนนี้ ที่หนักหน่วง + มีลูกเล็ก + ห่วงว่าจะเป็นพาหะให้ยายหนิง และที่สำคัญที่สุดคือมีแพลนที่จะตั้งครรภ์ แต่มองไม่เห็นเลยว่าสถานการณ์นี้จะยืดเยื้อไปอีกเท่าไหร่
.
อยากจะให้ตัวเองมีภูมิคุ้มกันให้มากที่สุด นอกเหนือไปจากการตั้งการ์ดให้สูงที่สุด รักษาร่างกายให้แข็งแรง รวมไปถึงการกิน/ใช้ทุกอย่างที่แชร์กันตาม social ว่าช่วยในการสู้รบกับเชื้อ covid 19 ได้ (ของฤทธิ์ร้อน สมุนไพร ยาจีน ยาเขียว น้ำยาบ้วนคอ bla bla bla) จึงเริ่มศึกษาหาข้อมูลถึงตัวเลือกต่างๆ ที่มี
.
บอกตามตรงว่า ในช่วงแรกๆ ที่มีข่าวการผลิตวัคซีนออกมา ก็คิดว่าถ้ามีโอกาสก็คงจะเลือกยี่ห้อที่ชื่อติดหูเรา เช่น Pfizer หรือ J&J และขอสารภาพตามตรงว่า ความคิดที่จะดิ้นรนไปฉีด ตปท. ก็มีค่ะ ระหว่างนั้นก็ได้พยายามหาความรู้เท่าที่จะหาได้เกี่ยวกับวัคซีนแต่ละยี่ห้อเอามาประกอบการตัดสินใจ เรียกว่าจะมีให้ฉีดรึเปล่า ค่อยว่ากัน แต่อยากรู้ว่าแต่ละตัวมีข้อดี ข้อเสีย และประสิทธิภาพ ต่างกันยังไง แล้วค่อยคิดว่า จะหามาฉีดยังไง
.
ที่นี้มาดูเกณฑ์ในการประกอบการตัดสินใจของชมนะคะ
1. efficacy rate
- side effect
- เทคโนโลยีที่ใช้ผลิต
ในส่วนของ efficacy rate จะเห็นว่า ตัวเลขที่แชร์ๆ กัน ค่า efficacy rate ของ pfizer จะสูงที่สุด รองลงมาคือ moderna ส่วน sinovac จะอยู่ท้ายๆ หน่อย ซึ่งมองดูแล้วคิดแบบง่ายๆ ค่า efficiency สูงก็น่าจะหมายถึง ประสิทธิภาพในการป้องกันสูง ถูกมั้ยคะ
.
ทีนี้ไอ้ค่า efficacy rate เนี่ย มันได้มายังไง ชมมีคลิปนึง (สามีส่งมาให้) อธิบายได้เคลียร์มาก จะแปะ link ไว้ใน story นะคะ เผื่อใครสนใจจะหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
.
แต่สรุปรวมๆ ก็คือ วัคซีนแต่ละยี่ห้อ ก็เก็บข้อมูลของตัวเอง ต่างสถานที่ ต่างเวลา ในระยะของการระบาดที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นจะนำมาเปรียบเทียบกันว่าอันไหนกันการติดเชื้อได้มากกว่า ก็ดูจะไม่แฟร์เท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือ ไม่มียี่ห้อไหนที่กันได้ 100% แต่ที่ทุกยี่ห้อมีเหมือนกันคือ กันไม่ให้มันเล่นเราหนัก ลดอัตราการเป็นผู้ป่วย ICU ช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อให้ pandemic นี้จบเร็วที่สุด
.
ในตอนท้ายของคลิป นางสรุปว่า The best vaccine is whatever vaccine you were offered. ก็คล้ายๆ กับที่คุณหมอบ้านเรากำลังบอกพวกเราแหละค่ะ ว่าวัคซีนที่ดีที่สุด คือวัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด ประกอบกับชมเชื่อว่า ไม่ว่าจะฉีดยี่ห้ออะไร เราก็ยังต้องห้ามการ์ดตกอยู่ดี ก็ใช่ว่าฉีดปุ๊บ จะได้ถอดแมสก์ปั๊บ แต่ฉีดเพื่อ “เสริม” ภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ประเด็นของ efficacy rate ที่ว่าๆ กัน สำหรับชมเมื่อพิจารณาแล้ว แทบจะปัดตกไปเลยค่ะ
.
ทีนี้มาที่เรื่องของ side effect ค่ะ เท่าที่เห็น จากข้อมูลในประเทศต่างๆ โอกาสแพ้วัคซีนหรืออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ชมเห็นว่า เกิดขึ้นกับแทบทุกยี่ห้อ แต่มีในอัตราส่วนที่น้อยมาาาาก
.
ตามความเข้าใจของชมเอง (คหสต.) มันน่าจะเป็นเรื่องของการตอบสนองของแต่ละคน แตกต่างกันไป สภาพร่างกาย โรคประจำตัว และปัจจัยอื่นๆ อีก ที่เราคงไม่รู้
แต่เมื่อเทียบอัตราส่วนแล้ว ชมคิดว่า โอกาสตาย/เจ็บตัว/หรือแม้แต่แค่เป็นพาหะ และนำไปสู่ความสูญเสีย
อื่นๆ อันเนื่องมาจากการติดเชื้อ covid (โดยเฉพาะในเวลาที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มในแต่ละวันเบอร์นี้) สูงกว่า โอกาสตายจาก side effect ของวัคซีนแน่นอน (รื้อฟื้นวิชาคณิตศาสตร์ : ความน่าจะเป็น)
.
ทั้งนี้ทั้งนั้น ชม consider ว่าตัวเองค่อนข้างแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว จึงไม่ค่อยห่วงข้อนี้มาก แต่สำหรับใครที่ไม่แน่ใจ ก็ลองปรึกษาคุณหมอดูค่ะ เทคโนโลยีที่ใช้ผลิต Pfizer และ moderna ผลิตด้วยเทคโนโลยี MRNA คือเป็นวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เอาเป็นว่าถ้าใครอยากจะศึกษาเพิ่มเติม ก็ลองหาข้อมูลดูนะคะ คือยาวมากอะ
.
Astra Zeneca คือวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ อันนี้ก็ยาวอีก สั้นๆ คือเป็นไวรัสที่มีชีวิต แต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ เมื่อฉีดเข้าไป ก็จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้าง anti body
แต่เนื่องจากเป็นเชื้อที่มีชีวิต ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมากๆ Sinovac คือการฉีดเชื้อที่ตายแล้ว เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว คือ classic
.
ส่วนตัวรู้สึกสบายใจที่สุดกับการฉีดเชื้อตายค่ะ ถึงแม้ efficacy rate (ที่จริงๆ แล้วก็เอามาเทียบกันไม่ได้) จะน้อยกว่าเพื่อน เนื่องจากยังไม่มีใครตอบชมได้ ถึงผลระยะยาวของวัคซีน ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่มากๆ ดังนั้น ณ เวลานี้ ชมจึงมุ่งไปที่ sinovac ส่วนตัวอื่น ขอเวลาหาข้อมูลให้มากกว่านี้ จะเป็นเข็ม 3 เข็ม 4 ค่อยมาว่ากันอีกที
.
เมื่อชมทราบจากเพื่อนบ้านว่ามี จนท. มาตั้งโต๊ะฉีดวัคซีน ที่วัดมหาไถ่ ซ.ร่วมฤดี เนื่องจาก zone แถวบ้านเป็น พท.เสี่ยง จึงไม่ลังเลเลยค่ะ อิชั้นอยู่เขตปทุมวันค่ะ
ก่อนหน้านี้ก็มีจองวัคซีน กับ รพ.เอกชนที่ใช้บริการประจำ แต่คิวอีกนานเลยค่ะ พอรู้ว่ามีอันนี้มานี่เท รพ.เลยค่ะ เพราะอยากได้วัคซีนเร็วที่สุด ฉีดไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พ.ค. นี่ก็ผ่านมาอาทิตย์นึงแล้ว ยังอยู่ดีนะคะ
.
ส่วน effect ก็คือ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยค่ะ บางคนเตือนว่า จะเพลียจะง่วง จะหลับมันมาก หรืออาจจะมีไข้อ่อนๆ แต่ของชมคือ ปกติ แบบไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยค่ะ (จริงๆ ก็อยากหลับแบบที่เค้าว่าบ้าง) คิดอยู่นานเหมือนกันค่ะ ว่าจะออกมาแชร์ดีมั้ย เนื่องจากเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่คนยังมีความเห็นที่หลากหลายกันไป
.
แต่สำหรับคนใกล้ตัวชม คนที่ชมแคร์ คนที่ชมรัก ถ้ามีโอกาส ชมก็จะบอกเค้าว่าไปฉีดเถอะ ชมไม่ใช่ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญที่ไหน ชมเข้าใจว่าชมคงไม่สามารถเปลี่ยน mindset ของทุกคนได้ หากคุณอ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว จะตัดสินใจอย่างไร คุณอาจจะยังกลัว effect กลัวตายจากวัคซีน หรือลิ่มเลือดอุดตันอะไรอย่างที่ได้ยินในข่าว ชมเคารพการตัดสินใจของคุณ
.
ชมรู้ว่าใครๆ ก็รักชีวิตของตัวเอง ส่วนชมก็รักชีวิตของชมเหมือนกัน ชมก็เป็นแม่ มีครอบครัว มีคนที่รัก มีงานการที่ต้องเป็นห่วง และนี่คือการตัดสินใจของชม สุดท้ายการที่เราจะยุติ pandemic นี้ได้ ก็คือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งภูมิคุ้มกันหมู่ จะเกิดได้ก็คือ 1. พวกเราคนติดเชื้อกันหมด แล้วเราก็จะมีภูมิกันทุกคน หรือ 2. การฉีดวัคซีนให้กับประชากร เป็น % ที่มากพอที่จะทำให้เชื้อไม่แพร่ระบาด จุดนี้ชมสะดวกเลือกข้อ 2 นะคะ สุดท้ายยิ่งกว่า ขอใช้โอกาสนี้ ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านค่ะ คุณคือ hero ตัวจริงค่ะ
.
With each shot that goes to someone’s arm, we get closer to the end of this pandemic.”
.