ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง และที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง โพสต์ข้อความถึงความคืบหน้าในการแก้ไขเหตุการณ์น้ำมันรั่วกลางทะเลโดยระบุว่า “ความน่าจะเป็น ของการเกิดอุบัติเหตุ ท่อน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเล มาบตาพุด” เท่าที่ผมสอบถามและหาข้อมูล แต่ยังไม่เห็นภาพจริง หรือ ท่อที่แตกจริงๆ
.
สาเหตุน่าจะเกิดจากแรงกระทำภายนอก ไม่ได้เกิดจากแรงดันภายในท่อ ทั้งนี้การเร่งทำการกู้ท่อขึ้นมา ในสภาพเดิมๆ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าของท่อ หรือ หน่วยพิสูจน์หลักฐานสากล หรือ ในประเทศไทยหรือ สภาวิศวกรรมแห่งประเทศไทย สอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง จะมีความชัดเจน ถูกต้อง มากกว่าครับ
.
ในการ Operation น้ำมันดิบ ที่ขนส่งมาทางเรือ จะถูกปั้ม จากเรือ ผ่าน ท่อ hose 24” 2 เส้น (Floating hose) ซึ่งอยู่ห่างจากทุ่น ประมาณ 130 เมตร ส่งมาที่ทุ่น ซึ่งล็อกไว้ด้วย Mooring chain ขนาดใหญ่ ถึง 6 เส้น รอบตัว เมื่อเข้ามาที่ทุ่นแล้ว น้ำมันดิบก็จะถูกดัน ผ่าน Subsea hose ขนาด 24 นิ้ว 2 เส้น เข้ามาที่ท่อเหล็ก 48 นิ้ว ลึกลงไป 27 เมตร ใต้ท้องทะเล เพื่อลำเลียงผ่านท่อนี้ ขึ้นสู่ชายฝั่งมาเก็บ ยัง Tank Farm ในนิคมฯ มาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 19.5 กม. (ทุ่นนี้ ใข้ทั้ง SPRC และ ปตท. ใช้งานร่วมกัน)
.
ปริมาตร ของระบบท่อนี้ (รวมท่อเหล็ก 48” ยาว ประมาณ 19.5 กม. และ Subsea Hose 24” ยาว 9 เมตร อีก 6 เส้น Floating hose 24” ยาว 9 เมตร อีกประมาณ 28 เส้น) รวมปริมาตร ประมาณ 22,000. คิวบิคเมตร หรือ 22,000,000 (ยี่สิบสอง ล้าน ลิตร) ปริมาตรรวมเยอะ แต่รั่วไหลจริงไม่ถึงขนาดนั้นนะครับ
.
ดังนั้นเท่าที่สอบถามข้อมูลมาการแตก น่าจะเกิดขึ้นที่ Subsea hose ท่อนล่างๆ ใกล้ๆท่อเหล็ก (เป็นเพียงการสันนิษฐาน) ต้องรอ สรุปชัดเจน จาก SPRC ในการสอบสวนอุบัติเหตุอีกครั้ง ซึ่งต้องคอยติดตามข้อมูลกันต่อไปครับหลายด้าน ต่อ กระบวนการกลั่นน้ำมันภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ
.
เรื่องนี้สำคัญมากๆ ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะ ถ้าระบบนี้ทำงานไม่ได้ หรือไม่ได้รับการแก้ไขให้ทันเวลา ภาวะการขนส่งน้ำมันดิบ จากเรือเดินสมุทรมายังถังเก็บ เพื่อผ่านกระบวนการกลั่นต่อไป จะมีปัญหาและส่งผลกระทบ อย่างกว้างขวาง มากมาย หลายด้าน ต่อ กระบวนการกลั่นน้ำมันภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ
.
เรื่องใหญ่ครับ สิ่งที่เป็นความต้องการของพี่น้องประชาชนชาวระยองอย่างน้อย 4 ข้อ คือ
- รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ที่ชัดเจน โปร่งใส ระบุสาเหตุ และการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ คือหัวใจ สำคัญ
- Emergency Response Plan แผนสำหรับตอบสนองเหตุการณ์ฉุกเฉินน้ำมันรั่วในทะเล
(เฉพาะ ชัดเจนในการฏิบัติ ฝึกซ้อมปีละ 2 ครั้ง ) - การชดเชย ฟื้นฟู ค่าเสียหายให้ กับ ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องทะเลไทย (ผ่านการ พิสูจน์ทราบทาง เทคโนโลยี และคำนวณมูลค่าความเสียหายของท้องทะเลไทยโดยผู้เชี่ยวชาญ)
- การชดเชยเยียวยา ประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบ ในทุกมิติ สาขาอาชีพ (ทั่วถึง เป็นธรรม มีเหตุผล)
.
“บทความนี้เขียนในแง่ของสาเหตุซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานครับ จึงต้องการให้ทางบริษัทสอบสวนให้ชัดเจนและหาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำซึ่งเป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องการครับ”
.