กลายเป็นกระแสในโลกออนไลน์ที่ร้อนแรงของปีนี้ จากเวทีดีเบตระหว่างนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในหัวข้อ”เลิก-แก้-ไม่แตะ 112″ ผ่านรายการมีเรื่อง Live EP.14 ที่ออกอากาศผ่านช่องทางยูทูบ ดำเนินรายการโดย น.ส.จอมขวัญ หลาวเพ็ชร โดยนายอรรถวิชช์ กล่าวช่วงหนึ่งว่า การเปลี่ยนแปลงมาตรา 112 ในขณะนี้ยังไม่ควรกระทำทั้งสิ้นและย้ำว่า 112 เป็นโทษที่มีฐานความผิดที่กว้างตั้งแต่ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ไปจนถึงเรื่องอาฆาตมาดร้าย ซึ่งตัวฐานหลักก็กว้างตัวโทษก็กว้าง ตั้งแต่ 3-15 ปี เมื่อโทษกว้างตัวคดีก็กว้าง จึงอยากชวนกำหนดแนวทางปฏิบัติของมาตรานี้โดยการตั้งคณะกรรมขึ้นมาหนึ่งชุด ที่ฝ่ายบริหารสามารถทำได้เลย ซึ่งบ่อเกิดของกฎหมายไม่ได้เกิดแค่ในรัฐสภา แต่สามารถเกิดจากแนวปฏิบัติ แนวคำพิพากษาและวินิจฉัยของศาล และคดีนี้ความผิดนี้ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นและมีมานานแล้วก็ต้องรวบรวมมาทั้งหมดจะได้เป็นแนวทางในคดีอื่นๆ ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ฟ้องหมด ไปตัดสินที่ศาล จนรกโรงรกศาล
.
นายอรรถวิชช์ ยังระบุว่า “คุณต้องคิดและต้องเข้าใจ สังเกตไหมว่าอาจารย์เองไม่โดน 112 แต่คนฟังอาจารย์ เขาโดน 112 ดังนั้นอาจารย์ต้องเคลียร์ให้เขาเข้าใจว่าเราจะไปช่วยเขาได้อย่างไรด้วยวิธีการที่เร็วที่สุด แต่ถ้าเกิดดันไปสู่กระบวนการแก้ไขมันต้องดูคะแนนเสียงในสภาด้วยว่ามันไปหรือเปล่าเสียงข้างมากในสภาไปได้ไหม ขี้หมูขี้หมาคุณเสียเวลากับมัน 8 เดือนไปกับเรื่องพวกนี้แล้วคนที่เขายังเสียหายยังรอการตัดสินหรือเขาเป็นคดีความอยู่มันก็ต้องไปช่วยเขาถูกไหม ผมคิดแบบนี้เพื่อไปสู่ทางออกให้ได้ นี่คือจุดยืนของผม”
.
ทั้งนี้ภายหลังจบรายการดังกล่าวปรากฏว่า มีผู้คนจำนวนมากแสดงความเห็นชื่นชมนายอรรถวิชช์ โดยส่วนใหญ่มองว่าให้เหตุผลที่ดี น่าฟัง และมีน้ำหนักดีในบริบทของโลกสังคมจริง และยังอธิบายขยายความให้คนดูเข้าใจง่าย แต่นายปิยบุตร พูดวกไปวนมา เช่นน.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ “โบว์” นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความเห็นต่างนายปิยบุตร โดยระบุว่า “เวลาใครบอกว่าอยากให้การหมิ่นประมาทเป็นแค่โทษทางแพ่งเพื่อส่งเสริม free speech และให้สังคมรู้จักอดทนอดกลั้น นี่คือคุณกำลังบอกว่าให้คนถูกละเมิดอดทนต่อการกระทำของผู้ละเมิดนะคะ”
.
น.ส.ณัฏฐา ยังโพสต์ด้วยว่า“เราไม่ได้ต้องไปสั่งสอนใครว่าให้พูดจาหรือทำตัวอย่างไร แค่ไม่คอยปลุกปั่นความเกลียดชังหรือให้ท้ายเวลาเขาทำผิดก็พอ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ ทุกคนก็เห็นกันอยู่ว่าใครมีบทบาทอย่างไรด้วยวิธีไหนบ้างก่อนจะมาถึงวันนี้” และโพสต์อีกว่า “การให้พระมหากษัตริย์ฟ้องเองไม่ควรอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่าท่านรู้สึกอย่างไรแล้วโยนให้ท่านตัดสินใจ เพราะกฎหมายนี้ไม่ได้ปกป้องตัวบุคคล แต่ปกป้องตำแหน่งประมุข จึงเป็นเรื่องของรัฐ ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล”
.
นอกจากนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Withawatt Cozy Tansuhaj’โพสต์ข้อความว่า 112 ควันหลงเมื่อวานที่อ่านความเห็นว่อนทางโซเซียลมีเดีย มีเรื่องจะออกความเห็นบ้าง มีความเห็นบางคนบอกว่าควรให้องค์กษัตริย์ฟ้องเอง หรืองานส่วนพระองค์ฟ้อง อันนี้เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด ที่สำคัญคือมันผิดความหมายของหลักการ เพราะกฎหมายนี้ไม่ได้ปกป้องบุคคล แต่ปกป้องตำแหน่งสถานะและตำแหน่งนั้นคือประมุขของรัฐ
.
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐบาลโดยตรงที่จะฟ้องร้องเพื่อปกป้องสถานะของพระองค์ ถ้าหากมีการแจ้งเรื่องราวจากประชาชน บางความเห็นบอกมาเกรียนเกรียนว่าเขาไม่เลือกทำไมต้องปกป้อง ถ้าเขาเลือกสิถึงควรจะปกป้อง อันนี้ตรรกะเพี้ยนมากจริงจริง เพราะถึงประมุขของรัฐจะมาจากการเลือกตั้ง เช่นอเมริกา มันก็ต้องมีทั้งคนแพ้และคนชนะเลือกตั้ง ถ้าหากคนที่คุณเลือกแพ้เลือกตั้ง แปลว่ากฎหมายคุ้มครองประมุขของรัฐไม่มีผลกับคุณหรือ คำตอบก็คือไม่ คุณก็ไม่มีสิทธิละเมิดจาบจ้วงคนที่คุณไม่ได้เลือกอยู่ดี
.
คนที่บอกว่าไม่ได้เลือก ไม่อยากปกป้อง ก็จาบจ้วงได้ ไม่น่าจะเชื่อในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง น่าจะเป็นพวกลัทธิบุคคลนิยมมากกว่า ที่กฎหมายลักษณะ 112 ยังคงมีในทุกประเทศ สาเหตุสำคัญ่คือเอาไว้กันไม่ให้เกิดคนยกพวกมาตีกัน เพราะตรรกะปัญญาอ่อนแบบข้างบนนั่นแหละ
.
ขณะที่นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “รศ.ดร.ปอดแหก” ระบุว่า ที่ผมโพสต์ว่า ปิยะบุตร ไม่กล้าเจอ ดร.อานนท์กับ ดร.นิว แต่กล้ามาเจอ อรรถวิทย์ เพราะ 1. กลัวความสามารถ ข้อมูล และตัวตนของ ดร.อานนท์และดร.นิว 2. ดูถูกว่า ดร.อานนท์และดร.นิว ว่า เทียบตัวเองซึ่งเป็นนักการเมืองระดับแกนนำไม่ได้ แต่ที่ ปิยะบุตร กล้าเจอกับอรรถวิทย์ เพราะ1. อรรถวิทย์ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งเป็นนักการเมืองอยู่ในระดับเดียวกับตัวเอง 2. ประเมิน อรรถวิทย์ เอาไว้ต่ำ ปิยะบุตรถือตัวว่า ตัวเองเป็นนักวิชาการระดับ รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์ ที่ผันตัวมาเป็นนักการเมือง ซึ่งมีความรู้สูงกว่านักการเมืองทั่วไป ทำให้เขาไม่กลัวนักการเมืองหน้าไหน แต่กลับกลัวนักวิชาการหรือประชาชนที่มีการศึกษาสูง ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองฝั่งตรงข้ามกับตน สุดท้าย หนีเสือปะจระเข้ เพราะอรรถวิทย์เป็นจระเข้ หนีเสือบอยเสือนิว กระโดดลงน้ำ ปะจระเข้อรรถวิทย์เข้าไปต่อจากนี้คงต้องคิดหนักกว่าเก่าถ้าต้องไปเจอกับใครและคงกลับไปแอบอยู่ใต้กระโปรงเด็กเหมือนเคย
.
- Advertisement -