นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงรายงานเรื่องหัวใจผิดปกติในเด็ก หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ โดยระบุว่า หัวใจผิดปกติในเด็กชาย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (162.2 คน ใน1ล้านคน) การวิเคราะห์ข้อมูล โดย คุณหมอ Tracy Hoeg และคณะ จาก university of California, Davis ภาควิชา Physical Medicine and Rehabilitation
.
ทั้งนี้โดยใช้ข้อมูลที่มีการรายงานมาในระบบ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากวัคซีน ของชาติ (VAERS) โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 18 มิถุนายน 2564 เด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัวที่ได้รับวัคซีน mRNA ที่มีอาการและลักษณะเข้าได้กับกล้ามเนื้อหัวใจและเยี่อหุ้มหัวใจอักเสบ
.
เด็กผู้ชายอายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 162.2 ต่อล้าน
เด็กผู้ชายอายุ 16 ถึง 17= 94 ต่อล้าน
เด็กผู้หญิงอายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 13.0 ต่อล้าน
เด็กผู้หญิงอายุ 16 ถึง 17= 13.4 ต่อล้าน
.
ในจำนวนนี้ ซึ่งเกือบ 86% เป็นเด็กชาย ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และความเสี่ยงตามการวิเคราะห์ชิ้นนี้ดูจะสูงมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการติดเชื้อ โควิด-19 ในกลุ่มอายุขนาดนี้พี่ไม่มีโรคประจำตัว
.
ข้อมูลตรงกับที่ CDC สหรัฐ รายงาน คือ มักเกิดหลังเข็มที่สองในผู้ชายอายุ 12 ถึง 17 แต่อุบัติการจากการวิเคราะห์นี้สูงกว่าที่ได้เคยมีรายงานไว้คือที่ 62.5 ในผู้ชายและ 8.68 ในผู้หญิงที่อายุ 12 ถึง 17 ต่อ ล้าน
(ทั้งนี้ไม่ทราบแน่ชัด ทั้งนี้อาจจะเกิดเนื่องจากการระบุว่าเป็นหัวใจอักเสบมีการครอบคลุมลักษณะของอาการกว้างขวางกว่า รวมกระทั่งถึงการตรวจอื่นๆเข้าไปด้วยหรือไม่)
.
ทางเลือกสำหรับประเทศไทยในเด็กตั้งแต่อายุสามขวบขึ้นไป เพื่อความปลอดภัยสูงสุดจากหัวใจอักเสบ อาจจะเป็นวัคซีนเชื้อตายสองเข็มแต่เนื่องจากไม่สามารถคุมเดลต้าได้ จึงตามด้วยไฟเซอร์ หรือโมเดนา ในปริมาณน้อยที่สุดคือหนึ่งส่วนสี่โดส เข้ากล้าม ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลหรือจะใช้ขนาดหนึ่งในห้าหรือหนึ่งใน 10 ทางชั้นผิวหนังก็ได้ผลเช่นกัน และปลอดภัยกว่า
.
- Advertisement -