หน้าแรกสังคมกทม.ลุยปรับโฉมป้ายรถเมล์ หลังละ 2-3แสน 300 หลัง มั่นใจแบบใหม่สำหรับทุกคน!

กทม.ลุยปรับโฉมป้ายรถเมล์ หลังละ 2-3แสน 300 หลัง มั่นใจแบบใหม่สำหรับทุกคน!

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.)เปิดเผยถึงกรณีการติดตั้งศาลาที่พักผู้โดยสาร (ป้ายรถเมล์) รูปแบบใหม่ว่า ปัจจุบัน กทม. ได้ดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ

-Type M ขนาด 2.30 ม. x 3.00 ม. มีจำนวน 3 ที่นั่ง ราคาประมาณหลังละ 230,000 บาท

-Type L ขนาด 2.30 ม. x 6.00 ม. มีจำนวน 6 ที่นั่ง ราคาประมาณหลังละ 320,000 บาท 

ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ดำเนินการก่อสร้างนั้น ครอบคลุมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค งานฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก งานเชื่อมประกอบโครงสร้างเหล็ก งานหลังคา Metal sheet งานรางน้ำ งานม้านั่ง งานระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายใน และงานบรรจบไฟฟ้าสาธารณะกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นต้น 

โดยในปีงบประมาณ 2566 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 30 หลัง ปีงบประมาณ 2567 ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 60 หลัง อยู่ระหว่างก่อสร้าง 29 หลัง และปีงบประมาณ 2568 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง 300 หลัง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร 

นายสิทธิพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาค่าก่อสร้างศาลารถโดยสารรูปแบบใหม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเมื่อประกวดราคาอิเล็คทรอนิกส์ (e-bidding) ราคาจึงต่ำลงอีก นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งผู้รอรถโดยสาธารณะและผู้ใช้งานทางเท้า ด้วยแนวคิด “ศาลารอรถเมล์ใหม่สำหรับทุกคน” จึงออกแบบใหม่รองรับการใช้งานของผู้พิการ (Universal Design) มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถบังแดดบังฝนด้วยหลังคาขนาดใหญ่และแผ่นอะคริลิกใสด้านหลัง มีพื้นที่นั่งคอยเหมาะสม สวยงามกลมกลืน ไม่บดบังทัศนียภาพ ไม่สร้างจุดอับสายตา 

และที่สำคัญคือ ออกแบบโดยคำนึงถึงการประหยัดพื้นที่ทางเท้า ไม่กีดขวางทางเดิน ไม่กระทบผู้ใช้งานทางเท้า การก่อสร้างแต่ละจุดจึงจำเป็นต้องรัดกุมเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน และแนวหน้าร้านของเอกชน ซึ่งล้วนมีรายละเอียดและข้อจำกัดที่แตกต่างกันและต้องใส่ใจอย่างมาก 

นายสิทธิพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาค่าก่อสร้างศาลารถโดยสารรูปแบบใหม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเมื่อประกวดราคาอิเล็คทรอนิกส์ (e-bidding) ราคาจึงต่ำลงอีก นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งผู้รอรถโดยสาธารณะและผู้ใช้งานทางเท้า ด้วยแนวคิด “ศาลารอรถเมล์ใหม่สำหรับทุกคน” จึงออกแบบใหม่รองรับการใช้งานของผู้พิการ (Universal Design) มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถบังแดดบังฝนด้วยหลังคาขนาดใหญ่และแผ่นอะคริลิกใสด้านหลัง มีพื้นที่นั่งคอยเหมาะสม สวยงามกลมกลืน ไม่บดบังทัศนียภาพ ไม่สร้างจุดอับสายตา 

และที่สำคัญคือ ออกแบบโดยคำนึงถึงการประหยัดพื้นที่ทางเท้า ไม่กีดขวางทางเดิน ไม่กระทบผู้ใช้งานทางเท้า การก่อสร้างแต่ละจุดจึงจำเป็นต้องรัดกุมเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน และแนวหน้าร้านของเอกชน ซึ่งล้วนมีรายละเอียดและข้อจำกัดที่แตกต่างกันและต้องใส่ใจอย่างมาก 

รถโดยสารสาธารณะเป็นรูปแบบการเดินทางหลักของคนกรุงเทพมหานคร รวมถึงผู้มีรายได้น้อยและนักเรียน-นักศึกษา ปัจจุบันมีการใช้งานมากกว่า 7-9 แสนเที่ยวต่อวัน การพัฒนาศาลารอรถเมล์เป็นหนึ่งในหัวใจในการดึงดูดให้ประชาชนใช้รถโดยสารสาธารณะ ควบคู่การเพิ่มป้ายหยุดรถโดยสารในจุดที่ขาด และการบอกข้อมูลการเดินทางและระยะเวลารอรถโดยสาร ซึ่งอยู่ระหว่างการขอข้อมูล GPS รถโดยสารสาธารณะจากกรมการขนส่งทางบกอีกด้วย” นายสิทธิพร กล่าว

นายสิทธิพร กล่าวทิ้งท้ายว่า กทม. พร้อมอำนวยความสะดวกประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ใช้งานรถโดยสารสาธารณะและผู้ใช้งานทางเท้า โดยหวังว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นการส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น 

อย่างไรก็ตาม หากท่านพบปัญหาจากการใช้งานศาลารอรถเมล์ สามารถแจ้ง Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์) หรือสายด่วน กทม. โทร. 1555 เพื่อให้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป 

_____________

#Thepoint #Newsthepoint
#กทม #ผู้ว่ากทม #ป้ายรถเมล์โฉมใหม่

#ศาลารอรถ

Must Read

Related News

- Advertisement -