นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงประเด็นชิงตำแหน่งประธานสภาฯ ของพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ว่า ว่า ต้องเข้าใจทั้ง 2 พรรค ในมุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อพรรคก้าวไกลได้อำนาจฝ่ายบริหารแล้ว พรรคเพื่อไทยก็อยากได้ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ในแง่ของพรรคก้าวไกลอาจจะไม่สบายใจ เพราะประธานผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาที่ทำหน้าที่คุมการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ตนมองว่า 2 พรรคต้องคุยกันให้ได้ โดยมีทางเลือกหลายทาง เช่น พรรคเพื่อไทยยอมให้พรรคก้าวไกล หรือ พรรคก้าวไกลยอมให้พรรคเพื่อไทย หรือให้พรรคอันดับอื่น เช่น พรรคประชาชาติ ให้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นประธานสภาฯ
“พรรคก้าวไกลอาจจะยอมให้ จึงควรหันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างมีเหตุผล และการเสนอมี MOU เฉพาะ อาจจะทำให้ความคลางแคลงใจระหว่างกันลดลง ซึ่ง การเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยคนจริงคาดหวังเห็นการเปลี่ยนแปลง ขออย่าแยกแตกกันเพราะเรื่องนี้ และผมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ประชาชนจะผิดหวัง” นายปริญญา กล่าว
หากมีข้อขัดแย้งจะส่งผลต่อเสถียรภาพการตั้งรัฐบาลหรือไม่ ว่าจำนวน 313 เสียง นั้นถือว่าเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งอย่างมาก แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลผสมถึง 8 พรรค อาจจะมีเรื่องระหองระแหงกันบ้าง และเรื่องที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของตัวบุคคลด้วย และเชื่อว่าหลักการที่ได้ลงนามร่วมกันเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า