วันนี้(1 ก.พ.) กรุงเทพมหานคร รายงาน ผลการตรวจวัด PM2.5 เวลา 05.00-07.00 น. โดย ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดได้ 57-97 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 72.5 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 67 พื้นที่
.
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 57-97 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่ ซึ่งพื้นที่พบค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 5 อันดับแรก ได้แก่
1.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 97 มคก./ลบ.ม.
2.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 95 มคก./ลบ.ม.
3.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม.
4.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
5.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
.
สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 31 ม.ค.- 3 ก.พ. 66 จะไม่ดี เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับช่วงวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นช่วงที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
.
ทั้งนี้ เว็บไซต์ IQAir รายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก พบว่า เมื่อเวลา 08.30 น. ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลก
.
ขณะที่วานนี้ (31 ม.ค. 66) มีหนังสือด่วนคำสั่งจากปลัดกรุงเทพมหานครถึง ผู้อำนวยการสำนักและผู้อำนวยการเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรุงเทพมหานครได้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละออง PM25 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ กรมอุตุนิยมวิทยาและสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ได้คาดการณ์ว่าสถานการณ์ฝุ่นละออง PM25 จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เด็ก ผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์
.
เพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2s และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดดำเนินมาตรการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2566 ดังนี้
- เข้มงวดตรวจวัดตรวจจับรถยนต์ควันดำทุกประเภทร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนที่กำหนด
- ประสานสถานีตำรวจท้องที่อำนวยการจราจรและกวดขันห้ามจอดรถในถนนสายหลักสายรองตลอดเวลา
- ขอความร่วมมือใช้รถเท่าที่จำเป็น ไม่ขับ…ช่วยดับเครื่อง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
- ประชาสัมพันธ์ประชาชนให้บำรุงรักษาเครื่องยนต์และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
- ควบคุมสถานประกอบกิจการในพื้นที่ไม่ให้ปล่อยมลพิษอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
6.งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทุกประเภท - เข้มงวดตรวจตราควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท
8.เพิ่มความถี่ในการล้างและดูดฝุ่นถนน และฉีดล้างต้นไม้ ใบไม้
9.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้พร้อมแนะนำวิธีป้องกันสุขภาพอนามัยจากฝุ่นละออง PM25 ให้กับประชาชน - ออกหน่วยบริการสาธารณสุขและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คลินิกมลพิษทางอากาศดูแลสุขภาพประชาชน
11.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินมาตรการ ได้แก่ มาตรการเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร การปฏิบัติงานในที่พัก (Work From Home) และลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน เป็นต้นจึงเรียนมาเพื่อดำเนินการ
.