นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า 6 เดือนมานี้ผมกับเพื่อนๆพี่ๆ เช่น พี่เป็ด ครูเป็ด moncheep พี่มี่ Amy Chonrungsee Chalermchaikit และเจย์ Jay Luangsuwimol เราศึกษาปัญหา “สังคมเปราะบาง” กันอย่างจริงจังเพราะมันกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย คำว่าเปราะบาง หรือ fragile ก็กำลังเป็นปัญหาในทั่วโลก เพียงแค่ระดับความวิกฤตินั้นต่างกันออกไป ไทยจะวิกฤติหน่อย เพราะมีปัญหาการเสพติด social media ทำให้วัยรุ่นที่มีภูมิต่ำตกเข้าสู่สภาวะ depression ง่าย
.
ผมลองเทียบให้ดู คนรุ่นพ่อแม่ผมเจอสงครามโลก รถไม่มี อาหารหายาก การศึกษาแร้นแค้น แต่ก็ self made แบบร้อยล้านพันล้านขึ้นไปได้มากมาย และชีวิตก็มีความสุขดี สถิติ depression และฆ่าตัวตายต่ำมาก
คุณภาพชีวิตรุ่นผมดีขึ้น แต่พวกเราก็ขึ้นรถเมล์ จะโทรหากันก็ต่อแถวตู้โทรศัพท์สาธารณะ จะทำอะไรก็ต้องรอ หาอะไรก็ยังยากเพราะไม่มี google map
.
นี่ไม่ต้องพูดถึงที่เที่ยวสวยๆในญี่ปุ่น หรือรถ Porsche นะ มันแพงเกินเอื้อม ยุคนั้นมีแต่คนรวยที่มีชีวิตแบบนั้น
รถ Porsche ทั้งประเทศมีไม่เกิน 100 คัน ส่วนเด็กที่โตมาในโลกยุคปัจจุบัน เค้าไม่เคยต้องลำบากอะไรมากเท่ารุ่นก่อนๆ ไม่ลำบาก แต่ทำไม depress หรือแม้แต่บางครั้งอาจหลอกตัวเองว่า burnout!!
.
การวิจัยจากทั่วโลกพบสิ่งตรงกันว่า
- เพราะโตมากับความสบาย จึงอ่อนแอ และเปราะบาง
- โตมากับสื่อที่เสนอคอนเท้นต์แนวให้หาความสบาย ความสุขตลอดเวลาให้กับชีวิต การตั้งเป้าให้ตัวเองมีความสุข จึงกลับมาทำร้ายตัวเอง เพราะเมื่อสุขไม่ได้เท่าเป้าสุข จึงเกิดความทุกข์
- โตกับ social media toxic ที่ทำให้เห็นคนอื่น “สุขเกินจริง” จึงเกิดการเปรียบเทียบ
.
ตอนนี้ทั่วโลกจึงเกิดกระแส“Antifragile” เพื่อปรับคนรุ่นใหม่ หรือคนที่เสพติดความสุขเทียมใน social media ให้กลับมาอยู่ในความเป็นจริง
.
“What doesn’t kill you makes you stronger” เป็นประโยคที่เป็นจริงทั้งด้านสุขภาพกาย และใจเสมอ ปัญหา depression จากความ fragile กำลังเป็น tsunami ลูกใหญ่ในสังคมไทย
ต้องมาช่วยกันแก้ครับ
.