หน้าแรกสังคม'5G'จากมหากาพย์คลื่นความถี่ไทย สู่เทคโนโลยีพลิกโฉมประเทศ!!

‘5G’จากมหากาพย์คลื่นความถี่ไทย สู่เทคโนโลยีพลิกโฉมประเทศ!!

รู้หรือไม่??ว่ากว่าจะมีวันนี้ที่ 5G เข้ามาพลิกบทบาทประเทศไทยสู่การเป็นประเทศพัฒนาเต็มตัวนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ลองย้อนไปดูวิวัฒนาการระบบการสื่อสารแบบไร้สายของไทย โทรศัพท์มือถือในยุคที่หนึ่ง หรือ 1G ถูกนำมาใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2533
ก่อนมาถึงยุค 2G ในช่วงปี พ.ศ. 2534 – 2543 จากนั้นเราก็มี 3G เข้ามาช่วงปี พ.ศ. 2543 – 2553 และมายุค 4G ช่วงปี พ.ศ. 2553 ก่อนที่จะมาถึงยุค 5G ในปี 2562 จะเห็นว่าการเดินทางจาก 4G มาสู่ 5G นั้น ใช้เวลานานเกือบ 10 ปี ด้วยเหตุที่ว่า วงการโทรคมนาคมไทยในยุคก่อนหน้านี้ คล้ายจะเป็นการขวางทางเดินสู่อนาคตก็คงไม่ผิด มีหลากหลายเรื่องราว ทั้งกลเกมชิงไหวชิงพริบ เกมการเมืองเข้ามาเอี่ยว จนทำให้เรื่องคลื่นความถี่ ตั้งแต่ยุค 1G จนกว่าจะมาถึง 5G กลายเป็น‘มหากาพย์’เรื่องคลื่นความถี่ไทย
.
แต่แล้วเทคโนโลยี 5G ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ได้จนสำเร็จ ใน 2020 ภายใต้การผลักดันจากนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ในขณะนั้น โดยตั้งแต่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้ตระหนักเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนไป ประเทศไทยต้องก้าวตามให้ทัน โดยมุ่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มวัย พร้อมทั้งปักธงว่า อีกไม่นานคนไทยจะได้ใช้ 5G และรัฐบาลไทยจะเป็นประเทศแรกๆในภูมิภาคอาเซียน ที่ให้หน่วยงานของภาครัฐเข้าประมูลคลื่น 5G เพื่อนำมาบริหารการใช้งานในภาคส่วนต่างๆ แทนที่จะไปเช่าเอกชน
.
นายพุทธิพงษ์ เคยกล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยี 5G ต่อประเทศไทยว่า “5G จะเป็นสิ่งที่มาเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิธีบริหารประเทศของไทยทั้งหมด โดยจะไม่ได้ขับเคลื่อนเฉพาะเครือข่ายมือถือ ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลไทยเตรียมนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้กับการทำสมาร์ทซิตี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการศึกษา และที่สำคัญที่สุดคือภาคการเกษตร โดยรัฐบาลต้องการพัฒนา 5G ให้ใช้งานได้ทั้งประเทศ เพราะเรามองว่าข้อมูลคือสิ่งสำคัญที่สุดในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งยังสำคัญต่อขีดความสามารถด้านการแข่งขันระหว่างประเทศ”
.
จากการผลักดันดังกล่าวทำให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดให้ภาคเอกชนยื่นซองประมูลอย่างเป็นทางการวันที่ 16 ก.พ.2563 ก่อนประกาศความสำเร็จที่พร้อมให้คนไทยได้ใช้บริการ 5G  อย่างเป็นทางการภายในปีเดียวกัน พาประเทศไทยเข้าสู่’ดิจิทัลไทยแลนด์’ได้อย่างสมบูรณ์แบบ!!
.
การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์มือถือเหมือนในยุคก่อน แต่ยังครอบคลุมไปทุกด้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของภาครัฐคือ การใช้งานในภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะช่วงวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยได้ใช้โซลูชัน AI ในการช่วยรับมือกับไวรัสดังกล่าว โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของผลการตรวจ CT scan ผู้ป่วยโควิด-19 จากประเทศจีนนับหมื่นราย นำมาเปรียบเทียบกับผลตรวจของผู้ป่วยในไทยเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด ซึ่งระบบนี้มีความแม่นยำในการตรวจถึง 96% และยังช่วยแบ่งเบาภาระ รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในไทยอีกด้วย
.
นอกจากด้านสาธารณสุขแล้ว กระทรวงดิจิทัลฯ ยังผลักดันการสร้างโครงข่ายเทคโนโลยี 5G ให้เป็นกลไกรองรับการลงทุน เพื่อสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สร้างรายได้ รวมถึงช่วยให้ภาคธุรกิจในประเทศฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ได้เร็วขึ้น
.
ที่กล่าวมาถือเป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งตัวอย่างการนำเทคโนโลยี 5G มาปรับใช้ ยังไม่รวมถึงการทำสมาร์ทซิตี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการศึกษา และที่สำคัญที่สุดคือภาคการเกษตร ที่ล้วนมีความสำคัญต่อขีดความสามารถด้านการแข่งขันระหว่างประเทศ
.
ทั้งหมดนี้เป็นคำตอบสำหรับประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างสมบูรณ์แบบ รวมทั้งเป็นโอกาสให้ประเทศไทยฟื้นตัวกลับมาเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างเต็มตัว จากของเทคโนโลยี 5G ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและพลิกบทบาทประเทศไทย 
.

ThePoint #ข่าวสังคม #5G #คลื่นความถี่ #พุทธิพงษ์ปุณณกันต์ #กระทรวงดิจิทัล #ดีอีเอส

Must Read

Related News

- Advertisement -