เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง มีความยินดีนโยบายเติมเงิน 1 หมื่นบาท เป็นนโยบายเรือธง ยกระดับเศรษกิจประเทศ และประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ รัฐบาลพยายามสูงสุด ฝั่นฝ่าอุปสรรค ส่งมอบนโยบายที่พลิกชีวิตประชาชน ลงทะเบียนในไตรมาส 3 และเงินส่งถึงประชาชนไตรมาส 4
โดยเป็นการใส่เงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง ได้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับชีวิตของประชาชน และภาคธุรกิจ นำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ รัฐได้รับผลตอบแทนในรุปแบบภาษี เตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่
ในความคุ้มค่าของการดำเนินการ ให้สิทธิประชาชน 50 ล้านคน วงเงิน 5 แสนล้านบาท จับจ่ายได้ในร้านค้าที่กำหนด ทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น จีดีพีโตขึ้น 1.2-1.6 เปอร์เซ็นต์
นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โปร่งใสตรวจสอบได้
วงเงิน 5 แสนล้านบาทบริหารจัดการผ่านงบประมาณได้ทั้งหมด ใช้งบปี 67 และ 68 แบ่งเป็น 3 ส่วน งบ 2568 และงบประมาณปี 2567 และเงินตามมาตรา 28 ของกรอบวินัยการเงิน จากธกส. โดยแหล่งเงินมาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วันที่เริ่มโครงการมีเงิน 5 แสนล้านบาททั้งก้อน ไม่ใช่ใช้เงินอื่น
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า แนวทางและเงื่อนไข คือ เป้าหมายประชาชน 50 ล้านคน คนเกินอายุ 16 ปี ไม่มีเงินได้เกิน 8.4 แสนบาทต่อปีภาษี ไม่มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นเกณฑ์เดิม
2.เงื่อนไขการใช่้จ่ายประชาชนกับร้านค้า ในพื้นที่อำเภอ ร้านค้าขนาดเล็กที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
3.ร้านค้ากับร้านค้าไม่กำหนดพื้นที่ ไม่กำหนดขนาดของร้านค้า การใช้จ่ายได้หลายรอบ การเปลี่ยนแปลงรอบที่ 1 เป็นของประชาชนกับร้านค้า สินค้าทุกประเภท ไม่รวมสินค้าอบายมุข สินค้าออนไลน์ น้ำมัน
4.ใช้ระบบพัฒนาขึ้นเองโดยสำนักงานพัฒนาดิจิทัล ร่วมดีอี ทำซูเปอร์แอพพ์ ใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น
5.คุณสมบัติร้านค้าที่ถอนเงิน ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคล และบุคคลธรรมดา เฉพาะผู้มีรายได้พึงประเมิน เปินผู้ประกอบอาชีพค้าชาย
การถอนเงินสด ถอนทันทีไม่ได้ ต้องถอนหลังจากใช้จ่ายรอบที่ 2 เป็นต้นไป ลดควาเมสี่ยงทุจริต เพิ่มเผลกรตุ้นเศรษญกิย
6.ประชาชนร่วมโครงการไตรมาส 3 ปี 2567 ใช้จ่าย ไตรมาส 4 2567
7.ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดหลักเกณณ์ มีรองผบช.น. เป็นประธาน ผบช.ไซเบอร์ เป็นรอง