มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บริการขนส่งมวลชน ในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,200 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 8 – 17 กันยายน 2564
.
โดยผศ.ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เป็นเรื่องการใช้บริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ 85% ของกลุ่มตัวอย่างมีบริเวณที่พักอาศัยที่มีบริการขนส่งมวลชนให้เลือกใช้บริการได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ 38.2% มีบริเวณที่พักอาศัยที่สามารถเดินเท้ามาถึงจุดให้บริการขนส่งมวลชนได้ในระยะทาง 1,000 เมตร (หรือ 1 กิโลเมตร)
.
ขณะที่อันดับที่สอง 27.1% ระยะทาง 500 เมตร อันดับที่สาม 18.5% ระยะทาง 1,500 เมตร และอันดับสุดท้าย 16.2% ระยะทาง มากกว่า 1,500 เมตร
ขณะที่ บริการขนส่งมวลชนที่สามารถเลือกได้มากที่สุดจากที่พักอาศัย
.
ส่วนใหญ่มีความต้องการใช้บริการขนส่งมวลชน อันดับที่หนึ่ง คือ ด้านราคาค่าโดยสารขนส่งมวลชนทุกระบบรวมกัน ต้องไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ (กรุงเทพมหานคร) หรือ 33 บาท/วัน ร้อยละ 47.1 ,อันดับที่สองคือ ความสะดวกในการเข้าถึงสถานี และเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนได้ไม่ติดขัด ร้อยละ 43.1 ,อันดับที่สาม คือ การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทุกสายเพื่อลดค่าแรกเข้าเหลือครั้งเดียว (ขึ้นหลายสายก็จ่ายครั้งเดียว) ร้อยละ 41.6
.
ส่วนบริการขนส่งมวลชนที่สามารถเลือกได้มากที่สุดจากที่พักอาศัย อันดับที่หนึ่ง คือ รถโดยสารประจำทาง ขสมก. (รถเมล์) ร้อยละ 84 ,อันดับที่สอง คือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง ร้อยละ 72.7 ,อันดับที่สาม คือ รถไฟฟ้า ร้อยละ 51.7 อันดับที่สี่คือ รถเมล์เอกชนร่วมบริการ ร้อยละ 48.4 อันดับที่ห้า คือ รถสองแถว ร้อยละ 44.7 และอันดับสุดท้ายคือ เรือโดยสาร ร้อยละ 33.5
.
สำหรับในชีวิตประจำวันของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการขนส่งมวลชนประเภท รถโดยสารประจำทาง ขสมก. (รถเมล์) มากที่สุด หรือร้อยละ 68 ,อันดับที่สอง คือ รถไฟฟ้า ร้อยละ 45.5 อันดับที่สาม คือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง ร้อยละ 42.6 อันดับที่สี่ คือ รถเมล์เอกชนร่วมบริการ ร้อยละ 30 อันดับที่ห้าคือ เรือโดยสาร ร้อยละ 28.2 และอันดับสุดท้ายคือ รถสองแถว ร้อยละ 23 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการใช้บริการขนส่งมวลชนในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ร้อยละ 73.5
.
- Advertisement -