หน้าแรกเศรษฐกิจเหลือเชื่อ!!ครั้งแรกของไทย'สรรพากร'โกยรายได้เข้าประเทศกว่า686ล้าน!เก็บภาษีแพลตฟอร์มออนไลน์ทะลุเป้า

เหลือเชื่อ!!ครั้งแรกของไทย’สรรพากร’โกยรายได้เข้าประเทศกว่า686ล้าน!เก็บภาษีแพลตฟอร์มออนไลน์ทะลุเป้า

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า จากที่กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) สำหรับการบริการแพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างประเทศ ที่ให้บริการในประเทศไทยตั้งแต่ 1 ก.ย.64 ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จะต้องชำระภาษีแวตทุกวันที่ 23 ของเดือนถัดไป โดยเดือน ต.ค.เป็นเดือนแรกและครั้งแรกของไทย ที่จะจัดเก็บภาษีแวตจากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศได้ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนแล้ว 106 ราย เดือน ต.ค.64 มียอดค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์รวมกว่า 9,800 ล้านบาท ทำให้ต้องชำระภาษีให้กรมสรรพากรจัดเก็บคิดภาษีแวต รวม 686 ล้านบาท สูงกว่าเป้าที่คาดไว้ถึง 65%
.
สำหรับบริการแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่างประเทศที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ได้แก่ บริการโฆษณาออนไลน์ มูลค่าให้บริการ 6,067.37 ล้านบาท ภาษีแวต 424.72 ล้านบาท บริการขายสินค้าออนไลน์ มูลค่าการให้บริการ 2,993.96 ล้านบาท ภาษีแวต 209.58 ล้านบาท บริการแพลตฟอร์มสมัครสมาชิก เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ รวมมูลค่า 667.07 ล้านบาท ภาษีแวต 46.60 ล้านบาท บริการแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลาง เช่น บริการขนส่ง มูลค่า 10.97 ล้านบาท ภาษีแวต 770,000 บาท และบริการแพลตฟอร์มจองที่พัก โรงแรม ตั๋วเดินทาง มูลค่า 68.78 ล้านบาท ภาษีแวต 4.81 ล้านบาท
.
ทั้งนี้ ในการจัดเก็บภาษี e-Service จากผู้ประกอบการต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ใช้บริการในไทย ที่เก็บรายได้ทะลุเป้าในเดือน ต.ค.64 ซึ่งเป็นเดือนแรกของการชำระภาษี ทำให้คาดว่าทั้งปีสรรพากรน่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศ 8,000-10,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 5,000 ล้านบาท การเก็บภาษี e-Service นี้ นอกจากช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้แข่งขันกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติได้อย่างเป็นธรรม
.
ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจบริการออนไลน์และมีรายได้เกิน 1,800 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่ผู้ประกอบการต่างชาติที่ให้บริการออนไลน์เหมือนกันไม่ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ การเก็บภาษี e-Service จะช่วยให้ไทยมีฐานข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการคำนวณเป็นฐานภาษีใหม่ที่จะเป็นรายได้ของประเทศไทยในอนาคต
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ได้ลงทะเบียนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศ ไทยแล้ว อาทิ เฟซบุ๊ก (Facebook) กูเกิล (Google) ยูทูบ (Youtube) ทวิตเตอร์ (Twitter) เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ติ๊กต่อก (Tiktok) อโกด้า (Agoda) สปอตตี้ฟาย (Spotify) เป็นต้น
.

ThePOINT #ข่าวเศรษฐกิจ #อธิบดีกรมสรรพากร #จัดเก็บภาษี #ภาษีมูลค่าเพิ่ม #แพลตฟอร์มออนไลน์ #e-Service

Must Read

Related News

- Advertisement -