สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าผลการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2566 ว่าผู้ได้รับการเลือกตั้งฝ่ายนายจ้าง 7 คน ได้แก่
1.ดร.มนตรี ฐิรโฆไท (หมายเลข 10) ได้ 409 คะแนน
2.นางวิภาวรรณ มาประเสริฐ (หมายเลข 9) ได้ 403 คะแนน
3.นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง (หมายเลข 31) ได้ 368 คะแนน
4.นายสมพงศ์ นครศรี (หมายเลข 8) ได้ 319 คะแนน
5.นายสุวิทย์ ศรีเพียร (หมายเลข 19) ได้ 315 คะแนน
6.นายทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ (หมายเลข 3) ได้ 258 คะแนน
7.น.ส.เพชรรัตน์ เอกแสงกุล (หมายเลข 33) ได้ 252 คะแนน
ส่วนผลการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายนายจ้าง นับคะแนนครบแล้ว 100% ผู้ทีผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 7 อันดับ ได้แก่
1.ดร.มนตรี ฐิรโฆไท ได้รับ 409 คะแนน
2.นางวิภาพรรณ มาประเสริฐ ได้รับ 403 คะแนน
3.นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง ได้รับ 368 คะแนน
4.นายสมพงศ์ นครศรี ได้รับ 319 คะแนน
5.นายสุวิทย์ ศรีเพียร ได้รับ 315 คะแนน
6.นายทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ ได้รับ 258 คะแนน
7.น.ส.เพชรรัตน์ เอกแสงกุล ได้รับ 252 คะแนน
หลังจากนี้ สำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบผลการเลือกตั้งและเตรียมรับรองผลการเลือกตั้ง ก่อนที่จะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธ.ค. นี้
การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของไทย ที่จะคัดเลือกตัวแทนของผู้ประกันตนและนายจ้างจำนวนกว่า 24 ล้านคนในระบบประกันสังคม เข้าไปทำหน้าที่เสนอความเห็นและนโยบายในการดูแลจัดการบริหารกองทุนประกันสังคม โดยหวังว่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด จากเดิมที่เป็นการเลือกตั้งจากผู้แทนเป็นการภายใน
ทั้งฝ่ายผู้ประกันตนและฝ่ายนายจ้างมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนได้ฝ่ายละ 7 คน เพื่อเข้าไปเป็นกรรมการในบอร์ดประกันสังคม โดยมีผู้สมัครผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนมีจำนวน 228 คน และผู้สมัครผู้แทนฝ่ายนายจ้าง จำนวน 65 คน
หลายฝ่ายในสังคมมองว่า ด้วยการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เพียงพอและทั่วถึงจึงทำให้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกันตน มาตรา 33, มาตรา 39, มาตรา 40 และฝ่ายนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม ไม่รับทราบถึงการลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งมากนัก
แม้ว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานประกันสังคมจะประกาศขยายระยะเวลาลงทะเบียนใช้สิทธิไปจากกำหนดเดิมในวันที่ 31 ต.ค. มาเป็นวันที่ 10 พ.ย. ก็ตาม แต่จำนวนผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งก็เพิ่มขึ้นมาไม่มากเท่าที่ควร
หลังจากปิดหีบการเลือกตั้งเมื่อเวลา 16.00 น. จากข้อมูลแบบเรียลไทม์ระบุว่า มีผู้มาใช้สิทธิไม่เป็นไปตามคาดการณ์ โดยฝ่ายนายจ้างมีผู้มาใช้สิทธิเพียง 1,465 คน จาก 3,129 คน คิดเป็นราว 46.82% เท่านั้น ขณะที่ฝ่ายผู้ประกันตน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 156,870 คนจากทั้งหมด 854,414 คน คิดเป็น 18.36%
ด้านนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยภายหลังการปิดหีบเลือกตั้งว่า รู้สึกผิดหวัง เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิไม่ต่ำกว่า 50% ที่สำคัญนี่ถือว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งกระทรวงมา จะต้องนำข้อมูลมาทบทวนเพื่อปรับปรุงในการดำเนินการครั้งต่อไป
ทั้งนี้ บอร์ดประกันสังคมที่ได้รับการเลือกตั้งจะมีวาระการทำงานคราวละ 2 ปี