นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า ตลอดช่วงการระบาดที่ผ่านมามีการประเมินผลการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์มาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับแนวทางการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการทดลองร่วมกับศูนย์วิจัยทางคลินิก ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช, การประชุมพิจารณากว่า 400 ครั้ง รวมถึงการใช้รักษาผู้ป่วยไปแล้วจำนวนกว่า 1 ล้านราย
.
นายแพทย์โอภาส ระบุอีกว่า ตัวอย่างเช่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชได้ร่วมกับสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 93 ราย พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ ขนาด 1,800 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งในวันที่ 1 ตามด้วยขนาด 800 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งในวันต่อ ๆ มาต่อเนื่องเป็นเวลา 4 วัน มีอาการดีขึ้น 79% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์
.
นายแพทย์โอภาส ระบุว่า นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับยามีจำนวนผู้ที่อาการดีขึ้น 79% เทียบกับกลุ่มไม่ได้รับยาที่มีผู้อาการดีขึ้นเพียง 32.3% อีกทั้งกลุ่มที่ได้รับยาจะมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 ของการรักษา และในวันที่ 13 และวันที่ 28 จำนวนไวรัสในร่างกายยังต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาอีกด้วย และไม่เพียงด้านประสิทธิภาพ แต่ยาฟาวิพิราเวียร์สามารถจัดหาในปริมาณมากได้ อีกทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงที่ต้องกังวล มีเพียงกรณีผู้ป่วยอาการหนักที่ประสิทธิภาพของยาจะลดลง โดยช่วงไตรมาส 2–3 ของปีนี้จะพิจารณาให้ใช้ยาตัวนี้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ด้วย
.
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันราคาการรักษาต่อคอสนั้นอยู่ที่ 800 บาท ต่ำกว่ายาตัวอื่นๆ เช่น เรมเดสซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาแบบฉีดทางหลอดเลือดดำมีค่ารักษาต่อคอส 1,512 บาท ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ที่เป็นยาทานเช่นกันนั้นมีค่ารักษาประมาณ 1 หมื่นบาทต่อคอส
.
นายแพทย์โอภาส ยืนยันว่า สธ.นำยาที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีผลข้างเคียง ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต มารักษาผู้ป่วย และขออย่าด้อยค่ายาที่ใช้รักษา เนื่องจากเคยเกิดปัญหาการด้อยค่าวัคซีน จนทำให้คนจำนวนมากเสียโอกาสในการรักษา รวมถึงเสียชีวิตจากการไม่ได้รับวัคซีน
.
สธ. ลั่นอย่ามาด้อยค่า!!’ยาฟาวิพิราเวียร์’เหมือนด้อยค่าวัคซีน หวั่นทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสรักษา-เสียชีวิต
- Advertisement -