นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ระบุถึงกรณีการพิจารณาหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง พร้อมพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมืองว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนข้อมูลแผนการเดินรถให้รอบด้าน โดยพิจารณาให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมิติการบริหารจราจร และมิติการให้บริการประชาชน โดยพิจารณาการปรับรูปแบบ และจำนวนรถไฟให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และปรับให้ขบวนรถไฟวิ่งนอกชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมให้จัดเวทีสาธารณะชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อหาข้อยุติและแก้ปัญหาให้ได้ทุกมิติ
.
นายศักดิ์สยาม ระบุว่า รฟท. อยู่ระหว่างการประชุมหารือ โดยได้มีการตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ในการดำเนินการบริหารที่ดินของการการรถไฟฯ ทุกแปลง หลังจากกระทรวงคมนาคม พิจารณาข้อมูลของการรถไฟฯ พบว่า มีการขาดทุนสะสมต่อเนื่อง หรืออยู่ที่ประมาณ 1.5-1.6 แสนล้าน ขณะที่ตัวเลขจากกระทรวงการคลังจะอยู่ที่ประมาณเกือบ 6 แสนล้าน (หนี้ที่เกิดขึ้นจริง) จึงถือเป็นโจทย์สำคัญที่กระทรวงคมนาคมจะต้องแก้ไขปัญหาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่อไป ซึ่งปัจจุบันทางการรถไฟฯ มีภาระในเรื่องของการบริหารที่มาการขาดทุนสะสมมานาน
.
นายศักดิ์สยาม ระบุถึงปัญหาเรื่องการเดินรถไฟฯ เข้ามาในกลางเมืองว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นเรื่องดังกล่าว มานานแล้ว จึงได้ดำเนินการสร้างโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟทางไกล, รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต ขณะเดียวกันอีกปัญหาหนึ่งของกรุงเทพมหานคร (กทม.) คือ ปัญหาการจราจร เนื่องจากจุดตัดทางถนนกับทางรถไฟ ประกอบกับเมื่อได้ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วนั้น จึงมองว่า ควรมีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ อย่างมีผลเป็นรูปธรรม ซึ่งวันนี้ได้รับทราบข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่แสดงความเห็น
.
นายศักดิ์สยาม ระบุว่า นอกจากนี้ทุกภาคส่วนที่เป็นกังวลว่า จะกระทบต่อประชาชนที่ใช้บริการสถานีหัวลำโพงในการเดินทางเข้ามา-ออกไปหรือไม่นั้น ขณะนี้กระทรวงคมนาคม และ รฟท.ได้บูรณาการร่วมกัน มีการสร้างระบบขนส่งมวลชนรอง (ฟีดเดอร์) เช่น ขสมก.ที่จะเดินทางจากหัวลำโพงไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในขณะเดียวกันได้ประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ว่าจะมีแนวมางอีกหนึ่งทางเลอกในการเชื่อมการเดินทางได้ง
.
นายศักดิ์สยาม ระบุว่า สำหรับปัญหาการจราจรเป็นปัญหาใหญ่ของกรุงเทพฯ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะมีการพิจารณายืนยันว่ากระทรวงคมนาคมและรัฐบาลจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งจะต้องหาวิธีการที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในปัจจุบันมี 118 ขบวนที่ให้บริการเข้าสู่สถานีหัวลำโพง ซึ่งต้องมาพิจารณาว่า จะปรับลดเหลือ 22 ขบวนที่ให้บริการหลังเปิดให้บรืการรถไฟฟ้าสายสีแดง เชิงพาณิชย์ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ มีความจำเป็นที่จะต้องเหลือขบวนให้บริการคงไว้หรือกระทบต่อการจราจรอย่างไร ต้องมีการปรับตารางเวลาการให้บริการหรือไม่ เนื่องจากเมื่อเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อแล้ว จะต้องมีการบริหารดูแลสถานี รวมถึงการบำรุงรักษา เพราะหากเปิดวิ่งรถแล้ว อาจจะไม่คุ้มค่าต่อการเปิดสถานีกลางบางซื่อ ก็จะเป็นภาระต่อการรถไฟฯ โดยต้องประเมินว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบอย่างไร
.
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่าในส่วนของกรณีของการหยุดการเดินสถานีหัวลำโพงนั้น ก็จะมีการประชุมพิจารณาทบทวนว่า มีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ ต้องพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง และหากต้องมีการจัดรถรับ-ส่งบริการ รวมถึงต้องหารือกับการรถไฟฯ และดูตัวเลขอีกครั้ง เนื่องจากจะต้องมีการประเมินเปรียบเทียบว่า การวิ่งให้บริการรถไฟเข้ามาสถานีหัวลำโพงกับการจราจรที่ติดขัดในช่วงปรับผ่านว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมจะพิจารณาถึงสิ่งที่จะมีผลกระทบต่างๆ โดยต้องพิจารณาตัวเลขข้อมูลก่อนตัดสินใจ ทุกเรื่องสามารถทบทวนได้หมด ทุกวันนี้มีการปรับจาก 118 ขบวน เหลือ 22 ขบวน และจะสามารถปรับได้อีกหรือไม่
.
- Advertisement -