สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า รานิล วิกรมสิงเห นายกรัฐมนตรีของศรีลังกา ประกาศในรัฐสภาว่า เศรษฐกิจของศรีลังกา ล่มสลายโดยสมบูรณ์แล้ว หลังเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร น้ำมัน และไฟฟ้า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และข้อตกลงกับองค์การการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คือทางออกเดียวที่จะฟื้นประเทศกลับมา
.
นายกรัฐมนตรีศรีลังกา ระบุว่า ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรงมากกว่าแค่การขาดแคลนเชื้อเพลิง ก๊าซ ไฟฟ้า และอาหาร และว่าศรีลังกาไม่สามารถซื้อน้ำมันนำเข้า หรือแม้แต่จะจ่ายเป็นเงินสด เนื่องจากบริษัทปิโตรเลียมของประเทศมีหนี้จำนวนมหาศาล “เราเห็นสัญญาณของการตกไปอยู่ในจุดต่ำสุด
.
สำหรับารวิเคราะห์ออกมาในแง่ร้ายนี้เกิดขึ้นในขณะที่ทางการศรีลังกากำลังพูดคุยกับ IMF เพื่อขอกู้ยืมเงิน โดยศรีลังกาต้องการเงิน 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐเข้ามาเสริมทุนสำรองระหว่างประเทศ จ่ายบิลค่าสินค้านำเข้า และพยุงเสถียรภาพให้กับสกุลเงินของตัวเอง
.
วิกรมสิงเก ระบุว่า การหารือครั้งแรกกับ IMF เสร็จสิ้นลงแล้ว และมีการแลกเปลี่ยนไอเดียเกี่ยวกับการคลังสาธารณะ ความยั่งยืนของหนี้ ภาคการธนาคารและสวัสดิการสังคม และตั้งจะทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับ IMF ภายในสิ้นเดือน ก.ค. นอกจากนี้ทางการศรีลังกายังมีแผนประชุมขอความช่วยเหลือด้านการเงินกับประเทศที่เป็นมิตร รวมทั้งอินเดีย ญี่ปุ่น และจีน เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม
.
วิกฤตเศรษฐกิจของศรีลังกาครั้งนี้ ถือเป็นวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของศรีลังกา นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 2491 โดยสาเหตุสำคัญมาจากหนี้จำนวนมากที่ค้างจ่าย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ของบริษัทปิโตรเลียมของประเทศ โดย Ceylon Petroleum บริษัทผู้ผลิตปิโตรเลียมรายใหญ่ที่สุดในศรีลังกา มีหนี้สินค้างชำระกว่า 700 ล้านเหรียญ หรือราว 2.5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ไม่มีประเทศหรือองค์กรใดในโลกให้ความเชื่อมั่นให้บริการน้ำมันในศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา
.
- Advertisement -