หน้าแรกการเมืองรู้หรือไม่? 'หนังสือภาษาพาที' ที่มีกระแสดราม่าไข่ต้มพอเพียง ตีพิมพ์ครั้งแรกในสมัย 'รัฐบาลยิ่งลักษณ์'

รู้หรือไม่? ‘หนังสือภาษาพาที’ ที่มีกระแสดราม่าไข่ต้มพอเพียง ตีพิมพ์ครั้งแรกในสมัย ‘รัฐบาลยิ่งลักษณ์’

จากกรณีที่มีดรามาจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พบว่ามีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่น สอนถึงคุณค่าของชีวิตแบบพอเพียงด้วยการกินไข่ต้มครึ่งซีกเหยาะน้ำปลา น้ำจากผัดผักบุ้งราดข้าว รวมถึงการขอน้ำปลาร้านข้าวแกงเพื่อราดข้าวมันไก่แล้วไม่ได้ กล่าวหาว่าแล้งน้ำใจ หรือจะเป็นการนำเงินติดกระเป๋าหย่อนใส่กล่องบริจาคทุกกล่องจนเงินหมด กลายเป็นที่วิจารณ์จากอินฟลูเอนเซอร์ออนไลน์ กล่าวหาว่าเด็กจะขาดสารอาหาร นักการเมืองบางคนหาเสียงควรลดงบประมาณในการจัดซื้ออาวุธมาเป็นสวัสดิการประชาชนและอาหารนักเรียน และยังโยงไปถึงแนวคิดชาตินิยมล้าหลังอีกด้วย

ปรากฏว่าเฟซบุ๊ก The METTAD ซึ่งเป็นเพจล้อเลียนการเมืองวิจารณ์พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ได้สืบค้นที่มาของหนังสือดังกล่าว พบว่าหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที พิมพ์มาแล้วหลายครั้ง แต่พิมพ์ครั้งแรกปี 2555 จำนวน 630,000 เล่ม เมื่อเปรียบเทียบสารบัญระหว่างตีพิมพ์ครั้งแรกกับพิมพ์ครั้งที่ 13 พบว่าตรงกัน ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องหาหนีคดีอาญาแผ่นดิน นอกจากนี้ในหน้าคำนำพบว่ามีชื่อของ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2554 อีกด้วย ขณะที่การปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังเกิดขึ้นในสมัยที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็น รมว.ศึกษาธิการ สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2551 อีกด้วย

Thepoint #Newsthepoint #ไข่ต้ม #หนังสือเรียน #ภาษาพาที #ยิ่งลักษณ์

Must Read

Related News

- Advertisement -