นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ หรือ ลอรี่ ผู้กล้า กทม. โพสต์ข้อความระบุว่า ก่อนไปเมต้าเวิร์ส เข้าใจ”มีเดียเวิร์ส”จักรวาลข่าวนฤมิตร ในไทยซะก่อน ความเข้าใจเก่าๆบอกเราว่า”สื่อต้องเป็นกลาง” แต่ยุคสมัยนี้มันไม่ใช่อย่างนั้นซะทีเดียวแล้ว เมื่อเราอยู่ในยุคที่สื่อเลือกข้างจะสร้างengagement คือการกดไลค์, คอมเม้นต์, กดแชร์ในโลกโซเชี่ยล ได้ไวกว่า การพาดหัวข่าวดราม่า ทำให้แฟนๆในฝั่งนั้นใช้อารมณ์-ความรู้สึกร่วมในการเสพย์ข่าว ซึ่งนำไปสู่การแชร์บอกต่อ, แท็กเรียกเพื่อนมาสบถ, ใส่แฮชแทคในทวิตเตอร์ เพื่อสร้างมูฟเม้นต์บางอย่างมากกว่า..
.
เพราะฉะนั้น การยึดข้าง-ถือข้างของสื่อจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจซะทีเดียว ลองดูชาร์ต “MEDIAVERSE” จักรวาลข่าวนฤมิตร ประเทศเรากัน จะเห็นสำนักข่าวต่างๆล้วนมีจุดยืน(positioning) ในการนำเสนอข่าวที่ต่างกัน แม้ว่าจะได้แหล่งข่าวเดียวกัน โทนการนำเสนอจะแตกต่างกัน ราวกับเป็นคนละข่าวได้เลย ยกตัวอย่าง สื่อจากทางรัฐ อย่างช่องทีวีที่อยู่ในการดูแลรัฐ ย่อมมีแนวโน้มให้สารหนักไปทางเชียร์รัฐบาลนั้นๆ ไม่ว่าใครขึ้นมาเป็นรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นฝั่งซ้าย อุดมคตินิยม/ เสรีภาพ (ประมาณ สีแดง-สีส้ม) หรือจะเป็นทางฝั่งขวา อนุรักษณ์นิยม/ กลุ่มรักสถาบัน (สีฟ้า-เหลือง) หมุนเวียนเป็นไปตามวาระและเวลา
.
หรือบางสื่อเอกชน ที่มีการถือหุ้นจากกลุ่มตระกูลนักการเมือง ย่อมมีความเอื้อในเสนอข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับพรรคพวกตัวเองมากกว่า แม้เมื่อมีข่าวอื้อฉาวพาดพิงกลุ่มคนฝ่ายตัวเอง สำนักข่าวที่เอนข้างแบบนี้ จะปกป้อง หรืองดการให้ข่าวที่เป็นลบกับฝ่ายตนโดยทันที
.
มาดูลักษณะเฉพาะกันบ้าง สื่อเอนฝั่งซ้าย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายตัวเองเป็นกลุ่มอายุน้อยกว่า จึงมีแนวโน้มที่เป็นสื่อ ที่มักทำได้ดีในออนไลน์มากกว่า คล่องตัวกว่า ,สื่อเอนขวา ซึ่งกลุ่มผู้ติดตาม มีอายุเฉลี่ยสูงกว่า จะทำได้ดีในช่องทางสื่อสิ่งพิมพ์ หรือวิทยุ/ โทรทัศน์ ที่เข้าถึงกลุ่มคนคนติดตาม ได้ดีกว่าทางออนไลน์
.
ตรงนี้สำคัญครับ “อย่าฟันธงว่าสื่อไหนดีไม่ดี จากการเอนเอียง หรือเลือกข้าง” แต่คุณควรดูคุณภาพของเนื้อข่าวที่แท้ทรูต่างหาก ที่เป็นปัจจัยสำคัญบอกว่ากองบรรณาธิการนั้นๆน่าเชื่อถือมากแค่ไหน ลองดูชาร์ตในแนวแกนตั้งนะครับ สื่อที่มีคุณภาพสูงสุด (ด้านบนสุด อย่างอีจัน) จะให้ข้อมูลที่pure บริสุทธิที่สุด เป็นเนื้อข่าวที่ได้จากแหล่งข่าว -จากคนที่ให้สัมภาษณ์แบบคำต่อคำ แปลว่าข้อมูลจากสื่อกลุ่มนี้มีคุณภาพสูงที่สุด!!! เพราะข่าวเหล่านี้ยังไม่ผ่านการตีความ ยำความเห็น จากทีมผู้สื่อข่าวเลย ซึ่งอาจทำให้เนื้อความ มีน้ำหนักที่ผิดเพี้ยนไปบ้างตามความเห็นของคนเขียน
.
ขณะที่สื่อออนไลน์ด้านล่างสุด อย่าง ดับเบิลแสตนดาร์ด ที่มักเขียนข่าวจากความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ มีการบิดเบือน-ใส่ความคิดแง่ลบเอามันส์ ดัดแปลงเนื้อข่าวจริง แบบพลิกหน้ามือเป็นหลังฝ่าเท้า ก็สามารถพิจารณาว่าเป็นสื่อที่ด้อยคุณภาพไปตามเนื้อผ้า
.
ลองพิจารณาสื่อที่ทุกท่านกำลังติดตาม ลองมอนิเตตอร์ตัวคุณเอง ว่าคุณชอบติดตามสื่อฝั่งไหน ชอบการให้ข้อเท็จจริงจากแหล่งข่าวตรง หรือ ชอบติดตามการพาดหัวแบบดราม่า จะได้อ่านสนุกขึ้น ไม่ว่าคุณชอบทางไหนแน่นอนว่าไม่ผิด เป็นวิจารณญาณส่วนตัวของคุณ
.
แต่อยากให้ลองเปิดกว้างรับสารจากสื่อที่หลากหลาย เพราะจะทำให้คุณไม่อยู่ในภาวะ Echo-Chamber หรือภาษาไทยเรียกว่า ภาวะเสียงสะท้อนในกะลา คล้ายว่า คุณอยากอ่านแค่สิ่งที่คุณอยากให้มันเป็น, อยากได้ยินแค่สิ่งที่คุณได้ยิน ซึ่งผลลัพธ์นั้น ทำให้เกิดอาการไม่รับฟังความคิดเห็นที่ต่าง หรือ แย่ที่สุดคือปฏิเสธ และไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นได้เลย จงเสพย์สื่ออย่างมีสติ เพราะสังคมที่ยอมรับความแตกต่าง รับฟังซึ่งกันและกันเท่านั้น คือสังคมที่มีปัญญาและหาทางไปต่อกันได้..
.
รู้ทันสื่อ!!’ลอรี่-พงศ์พล’กางชาร์ต’มีเดียเวิร์ส’จักรวาลข่าว ชวนรู้ทันสงครามกรอกหู ยุคสื่อเลือกข้าง!
- Advertisement -