หน้าแรกการเมืองย้อนไทม์ไลน์ คดี ม.112 พรรคก้าวไกล ทบทวนก่อนถึงวันตัดสินชี้ชะตา 'อยู่ หรือ ไป'

ย้อนไทม์ไลน์ คดี ม.112 พรรคก้าวไกล ทบทวนก่อนถึงวันตัดสินชี้ชะตา ‘อยู่ หรือ ไป’

พรรคก้าวไกล อยู่ในสถานการณ์ที่ทุกก้าวย่างอยู่ปากเหวว่าจะถูกยุบ หรือ รอด จากเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาลรับธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัย พรรคก้าวไกล “เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง”

ที่ผ่านมาทุกคนทราบกันดีว่าพรรคก้าวไกล มักจะมีจุดยืนอย่างชัดเจน ว่าต้องการแก้ไขกฎหมาย ม.112 หรือความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างมากในสังคมไทย

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ในตอนนั้น) เสนอร่างแก้ไขกฎหมาย ม.112 ต่อประธานรัฐสภา นำมาซึ่งการถูกร้องเรียนจากหลากหลายฝั่ง

ในขณะนั้น ได้เสนอชุดร่างกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน จำนวน 5 ฉบับ รวมถึงร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อประธานรัฐสภา

โดยมี สส. ของพรรคก้าวไกลในขณะนั้น 44 คน ร่วมลงชื่อ และมีอีก 9 ไม่ร่วมลงชื่อ แต่ร่างฯ ดังกล่าว ยังถูกบรรจุเข้าวาระสภาฯ

เนื่องจาก ถูกโต้แย้ง โดย สำนักการประชุม สภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาผู้แทนราษฎร (ขณะนั้นคือ นายชวน หลีกภัย) ว่า มีบทบัญญัติที่อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”

14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พรรคก้าวไกล แก้ไขมาตรา 112 เป็น 1 ใน 300 นโยบาย ที่ใช้หาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความของอดีตพระพุทธอิสระ เข้ายื่นคำร้อง 8 แผ่น พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานอีก 75 แผ่น ต่อ อัยการสูงสุด (อสส.) ขอให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำวินิจฉัยสั่งการให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล เลิกกระทำการใดๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

16 มิถุนายน พ.ศ. 2566
นายธีรยุทธ ร้องศาลรัฐธรรมนูญ ให้สั่ง นายพิธา และพรรคก้าวไกล ยุติ เลิกทำนโยบายการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องที่ นายธีรยุทธ (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 49 ว่า การกระทำของนายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2) ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่

14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
วันโหวตนายกรัฐมนตรี รอบแรก
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น เสนอชื่อ นายพิธา ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาโหวต เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อผลการลงมติออกมา นายพิธา ไม่ผ่าน

โดยมีเสียง เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง ขาดประชุม/ไม่ลงมติ 44 เสียง โดยวันนั้นมีการเปิดให้อภิปรายก่อนลงมติ ซึ่งข้อหาที่นายพิธา ถูกคัดค้าน หลักๆ ก็คือเรื่อง ม. 112

26 มกราคม พ.ศ. 2567
นายพิธา ซึ่งปัจจุบัน เป็น ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดแถลงข่าว แผนการทำงานของพรรคก้าวไกล (MFP’S Strategic Roadmap) ประจำปี 2567 เป้าหมาย 6 บิ๊กแบง (Big Bang) ที่จะทำให้ประชาชนได้เห็นในแบบฉบับของก้าวไกล โดยจะเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมาย 47 ฉบับเข้าสู่สภาฯ

ในวันนั้น มีผู้สื่อข่าวถามนายพิธาว่า จะมีการผลักดันการแก้ไข มาตรา 112 หรือไม่ เพราะในโรดแมปที่แถลงไม่ได้ระบุไว้
โดยนายพิธา ตอบว่า “ตรงนี้ทำอะไรไม่ได้ ต้องรอคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นในพรรคก็ยังไม่มีการพูดคุยกัน”

27 มกราคม พ.ศ. 2567
พรรคก้าวไกล ปล่อยคลิป ‘ปฏิรูป ต้องไม่เท่ากับล้มล้าง’ ความยาว 7.58 นาที พร้อมระบุข้อความว่า แก้ไข 112 ไม่เท่ากับล้มสถาบัน แต่คือหน้าที่ตามระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

“พรรคก้าวไกล ขอยืนยันว่า การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นไปเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ธำรงอยู่คู่สังคมประชาธิปไตย โดยสร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองประมุข กับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน เพราะการวางสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ในที่สูง ไม่ได้ใช้กฎหมายที่รุนแรงและโทษสูง แต่คือการธำรงสถานะของพระมหากษัตริย์ไว้บนฐานของเหตุผล สติปัญญา และความยินยอมพร้อมใจของประชาชน”
https://www.facebook.com/watch/?v=394381786581119

https://www.facebook.com/watch/?v=394381786581119

28 มกราคม พ.ศ. 2567
นายธีรยุทธ ผู้ยื่นคำร้องคดี ให้สัมภาษณ์กับ ไทยโพสต์ ระบุว่า คำร้องที่ยื่นไม่ได้มีการขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกลแต่อย่างใด โดยในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง หยุดที่จะนำนโยบายยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 มาใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง และขอให้หยุดการสัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นเรื่อง 112 ไม่ว่าจะต่อสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

31 มกราคม พ.ศ. 2567
ศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) ได้ชี้ว่าการหาเสียงแก้กฎหมาย ม.112 ถือเป็นเจตนา “ล้มล้างการปกครอง” พร้อมให้เลิกกระทำ-แสดงความคิดเห็น โดยทันที

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ และ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้มีการยุบพรรคก้าวไกล หลังศาล รธน. มีคำวินิจฉัยคดีพิธา ที่ยื่นแก้กฎหมาย ม.112

18 มีนาคม พ.ศ. 2567
กกต. ยื่นคำร้องต่อศาล รธน. ขอให้พิจารณาสั่งยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคในทันที

3 เมษายน พ.ศ. 2567
ศาล รธน. ได้มีมติรับคำร้อง โดยให้ผู้ถูกร้องส่งคำชี้แจงภายใน 15 วัน

7 สิงหาคม พ.ศ. 2567
วันชี้ชะตาว่าพรรคจะได้ไปต่อหรือไม่

ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่า ถ้าพรรคก้าวไกลต้องถูกยุบ กรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 ชุดคือในยุคที่ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นหัวหน้าพรรค และยุคที่ “ชัชธวัช ตุลาธน” เป็นหัวหน้าพรรคต้องถูกตัดสิทธิทางการเมืองเช่นกัน

#Thepoint #Newsthepoint
#พรรคก้าวไกล #ยุบพรรคก้าวไกล #ม112 #ชี้ชะตาพรรคก้าวไกล

Must Read

Related News

- Advertisement -