นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ ผู้กล้า กทม. โพสต์ข้อความระบุว่า รัฐทั่วโลกทำกันตลอด คือแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินไปยัง SMSของมือถือของคนในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ให้ระวัง-อพยพ ..ง่ายคุ้มค่า และได้ประสิทธิภาพ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ติดตั้งเซนเซอร์ดักตรวจระดับน้ำ ไว้บนรถขนส่งไปรษณีย์ ซึ่งวิ่งวนอยู่ทั่วประเทศ เมื่อมีการน้ำท่วมขังตรงหย่อมไหน จะส่งสัญญานแจ้งเตือนกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที
.
พูดถึงวิธีการรับมือน้ำท่วม ทางกายภาพ (Offline Solutions) ทำกันหลากหลายวิธี ทั้งการทำเขื่อน-ทำนบ,อุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน, เพิ่มเครื่องสูบน้ำ, วาล์วน้ำ แผงกั้นอัฉริยะ และอีกมากมาย ซึ่งแนวทางนี้ช่วยแก้ปัญหาก็จริง แต่ใช้งบประมาณมหาศาล อย่างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ 6จุดในกทม. ที่กำลังจะสร้าง ใช้งบถึง 2.6หมื่นล้านบาท!
.
อีกมุมนึง ยังมีแนวทางการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ แต่ใช้เงินทุนน้อยกว่า โดยที่เน้นที่เทคโนโลยีการmonitor จับตาสถานการณ์ และเทคโนโลยีการสื่อสารไปสู่บุคคล โดยอาศัยเครื่องมือทางออนไลน์ (Online Solutions)
.
พูดง่ายๆก็คือการแก้ปัญหาที่มองในมุมมนุษย์ (Human-Centric) มากขึ้น ไม่ได้โฟกัสที่น้ำเป็นหลัก… คือ ทุกระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น ทุกความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประชาชนในเขตเมืองจะได้รับข้อมูลReal Time ผ่านทางสมาร์ทโฟนที่ส่วนใหญ่มีกันอยู่แล้ว … จะได้เตรียมการกันถูกต้อง ไม่ต้องคาดเดานั่งเทียน ไม่ต้องรอให้วัวหาย-ล้อมคอก, น้ำห้อม-ล้อมกระสอบทราย อย่างทุกวันนี้ ด้วย 17 เทคโนโลยี Online Flooding Solutions
1) Remote Sensing – ดาวเทียมดักจับ
เป็นการดักจับภาพจากดาวเทียม Synthetic Aperture Radar (SAR) ซึ่งสามารถเก็บภาพมุมสูง เพื่อตรวจจับระดับน้ำที่ท่วม ในพื้นที่เป้าหมาย ส่งมาให้ทำการวิเคราะห์ และMappingพื้นที่เสี่ยงอย่างเห็นภาพรวมหมดจรด
2) Smart Camera – กล้องสอดส่อง
ขณะที่ Remote Sensing ให้เราเห็นภาพรวมน้ำท่วมในเชิงกว้าง เทคโนโลยีSmart Camera เป็นการฝังกล้องเพื่อจับภาพน้ำ เพื่อสังเกตุเป็นพื้นที่เฉพาะพื้นที่ไป ทำให้ได้รายละเอียดเชิงแคบ สามารถนำไปประเมินการพยากรณ์ได้แม่นยำ และยังช่วยการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ
3) Smart Buoys – ทุ่นลอยน้ำอัจฉริยะ
ทุ่นลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ผูกติดไว้ใต้น้ำ ในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม หรือบริเวณแม่น้ำ ที่เราต้องการตรวจจับระดับ.. ทุ่นนี้จะรายงานระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง – อัตราการไหล – อุณหภูมิ – สีของน้ำและการเจือปนกลับมายังห้องปฏิบัติการ ..ทุ่นลอยน้ำนี้สามารถ ใช้ควบคู่กับทุ่นอีกตัวที่ผูกลอยไว้ที่ปากทะเล เพื่อการเทียบระดับน้ำในพื้นที่ และระดับน้ำทะเลอย่างเป๊ะปังไม่ต้องคาดเดาอีกด้วย
4) Water Level Sensors – มาตรวัดระดับน้ำ
การตรวจวัดระดับน้ำชายฝั่งแม่น้ำ เพื่อนำข้อมูลbig-data ตามจุดแม่น้ำต่างๆ มาคำนวน ..ใช้เครื่องมือที่ติดตั้ง ตรวจจับแบบReal-time มีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ แกนเหล็กที่ขึ้น-ลง ตามระดับพื้นน้ำง่ายๆ, เซนเซอร์จับแรงดันน้ำ หรือใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค เพื่อจับระดับน้ำจากระยะไกล
5) Smart Sewerage – ท่อน้ำที่วัดปริมาตรได้
การติดตั้งมาตรวัดความหนาแน่นของน้ำ-อัตราการไหล.. ในท่อ/อุโมงค์ระบายน้ำ สามารถช่วยให้ประเมินสถานการณ์ของการเกิดน้ำท่วมขังได้แม่นยำยิ่งขึ้น ข้อดีของระบบนี้คือสามารติดตั้งเซนเซอร์แยกเข้าไปที่ท่อน้ำเก่าได้เลย แต่ปรับสภาพให้เป็นท่อ/อุโมงค์อัจฉริยะ ทำให้การประมวลผลฉับไว และแม่นยำขึ้น
6) Smart Home – ระบบบ้านอัจฉริยะ
สำหรับบางบ้าน(ส่วนน้อย) ที่มีการติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะ ที่ประกอบไปด้วยเซนเซอร์จำนวนหลายตัว ซึ่งสามารถตรวจจับเปลวเพลิง, แก๊สรั่ว หรือร่องรอยน้ำที่ไหลเข้ามาในบริเวณบ้าน ..เซนเซอร์จะส่งไปที่ส่วนกลาง หรือเจ้าของบ้าน ว่าต้องการแจ้งเตือนภัยหรือไม่ ก็สามารถเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่แจ้งภัยน้ำท่วมในระบบได้
7) Biometric and Medical Online Applications – แอพพริเคชั่น หรือ เครื่องตรวจโรคที่ทำได้เอง เมื่อเกิดน้ำท่วมขังยาวนาน หลายคนอาจลืมไปว่า ยังมีภัยแฝงนั่นคือโรคระบาดที่สามารถแพร่ได้ดีทางน้ำ (water-borne diseases) เช่นเชื้อโกวิทย์ ที่จะอันตรายมากขึ้นเมื่อมีน้ำเป็นตัวเชื่อมระหว่างคน หรือพวกแบคคทีเรีย อีโคไล ที่ก่อให้เกิดโรคอหิวา/ท้องเสียรุนแรง ดังนั้นเครื่องเทสต์ATK หรือ พวกแอพมือถือที่สามารถช่วยผู้คนประสบภัยให้สามารถเข้าถึงการดูแลจากหมอ หรือทีมสาธารณสุขได้ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
8 ) Wearables Technologies – แฟชั่นสวมใส่อัจฉริยะ เชื่อมั้ย แฟชั่นเทคโนโลยีติดตัวอย่าง นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ เช่น Apple W,atch สามารถตรวจวัดค่าความดัน, การเต้นของชีพจร, ระดับการนำไฟฟ้าบนผิวหนัง, การเปิดของรูม่านตา หรือ คอร์ติซอล ระดับฮอร์โมนความเครียด เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์ ที่สามารถช่วยในระดับตัวบุคคลได้ดีมาก ในกรณีเป็นผู้ที่ประสบภัย ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ..นอกจากนี้ยังมี GPS ที่สามารถรายงานตำแหน่งที่ประสบภัยน้ำท่วม และแจ้งเตือนได้อย่างแม่นยำ
9) Weather Sensors – เสาวัดสภาพอากาศ
เสาวัดสภาพอากาศเป็นเครื่องมือเล็กๆ ที่สามารถวัดค่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ, ความเร็วลม, ปริมาณน้ำฝน, แรงลม และอุณหภูมิ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ราชการใช้อยู่ประจำ.. ซึ่งในประเทศอย่าง เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม และออสเตรเลีย ที่อากาศแปรปรวน เสาทดสอบสภาพอากาศถูกใช้แพร่หลายโดยผู้คนตามบ้านเรือน ซึ่งมีการรวมข้อมูลจากเสาเหล่านี้ตามบ้าน ทำให้สามารถคำนวนพยายกรณ์การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ แม่นยำยิ่งขึ้น
10) Smart Vehicle Data – รถตรวจน้ำท่วม
โครงการImec ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการติดตั้งเซนเซอร์ดักตรวจระดับน้ำ ไว้บนรถขนส่งไปรษณีย์ ซึ่งวิ่งวนอยู่ทั่วประเทศ เมื่อมีการน้ำท่วมขังตรงหย่อมไหน จะส่งสัญญานกลับเข้ามาแจ้งเตือนกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที
11) News – ช่องข่าว
รัฐสามารถใช้ช่องทางสื่อรัฐในมือ ทำเป็นช่องน้ำท่วม หรือรายการเฉพาะกิจ สำหรับรายงานสถานการณ์แบบสดๆ ช่วยให้ผู้คนมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ไม่ต้องฟังจากโซเชี่ยลที่พูดกันไปในแนวทางต่างๆกัน
12) Solicited Crowd-Sourcing – เว็บรวบรวมดาต้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คราวด์ซอสซิ่ง คือการระดมข้อมูลจาก หน่วยงานที่คัดเลือกเช่น กรมอุตุนิยม, สภากาชาด, หน่วยกู้ภัย, อาสาสมัครน้ำท่วมต่างๆ เพื่อที่จะแชร์ข้อมูลน้ำท่วมร่วมกัน และกระจายข้อมูลออกมาเป็นเว็บไซด์ ที่รายงานผลต่างๆ เช่นแผนผังปรมาณปริมาณน้ำขัง, บ้านเรือนที่ต้องการความช่วยเหลือ แบบreal time เป็นต้น
13) Navigation App Monitoring – แอปมือถือดูสถานการณ์น้ำท่วม
แอปอย่าง e-wasBaha สามารถช่วยประชากรหลายล้าน ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางถนนที่น้ำท่วมใช้การไม่ได้ แบบเรียลไทม์ เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ในเมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
14) Unsolicited Crowd-Sourcing – เว็บรวบรวมสถานการณ์จากคนทางบ้าน
แพลตฟอร์มที่คล้ายกันกับ ข้อ12 แต่จะเปิดเสรีให้กับคนทางบ้าน สามารถกรอกรายงานระดับน้ำ หรือ ภัย/ ความช่วยเหลือเข้ามา โดยใช้ระบบpeers-to-peers ตรวจสอบกันเอง ข้อดีคือข้อมูลจะเร็วกว่า มากกว่า แต่จะมีประเด็นเรื่องความแม่นยำอยู่บ้าง
15) Siren Systems – ไซเรนเตือนภัย
ไซเรน ใช้กันแพร่หลายในการเตือนภัย ไฟไหม้ ตามตึก/ อาคารในย่านเมือง หรือ ระบบเสียงตามสายในชุมชนเล็กๆ ซึ่งสามารถปรับใช้กับสถานการณ์น้ำท่วมได้เหมือนกัน เพื่อแจ้งเตือนกับคนในพื้นที่ใกล้ๆ
16) Interactive Smart TV and Radio – อินเตอร์เน็ททีวี หรือวิทยุออนไลน์ ที่ระบุพิกัดผู้ดู
ในหลายประเทศ ที่อินเตอร์เน็ททีวีตามบ้าน สามารถแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ เป็นหน้าจอเตือนภัย หรือข้อความแถบวิ่ง เด้งเข้ามาเฉพาะบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น พายุกำลังจะเข้าในพื้นที่.. ระวังน้ำท่วมฉับพลัน ตอน3ทุ่มในพื้นที่คุณ เป็นต้น
17) SMS Disaster Alert System – แมซเซจเตือนภัยจากทางรัฐ
ข้อนี้เป็นสิ่งที่รัฐทั่วโลกทำกันตลอด คือแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินไปยัง SMSของมือถือของคนในพื้นที่เสี่ยง ง่ายและคุ้มค่า ได้ประสิทธิภาพ ..ที่อเมริกาจะเรียก Presidential Text Alert Messages ส่งตรงมาเตือนทุกเบอร์ในพื้นที่นั้นๆ ว่าน้ำท่วม ให้อพยพ หรือติดต่อช่วยเหลือเบอร์อะไร
.
ย้ำอีกครั้ง.. ไม่ต้องมาครบทุกวิธี แต่ขอให้มีซักเทคโนโลยี ที่คอยสื่อสารให้ประชาชน ให้ประชาชนเป็นใหญ่ ให้ความสำคัญบ้าง อย่างพวกSMSเตือนภัยที่ใช้กันทั่วโลก..ลงมือทำได้ทันที รอไร
.