เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2566 ผู้ใช้เฟสบุค chutima pukbanyang หรือ ครูเคท ระบุว่า เคทคิดยังไง…กับการอ่อนค่าของเงินเยน ?
ก่อนอื่นมาลองพิจารณาหรือตั้งสมมติฐานกันดูเล่นๆว่า ทำไม BOJ ถึงยอมให้ค่าเงินอ่อนโดยไม่แทรกแซง
คำถามนี้จัดว่าสร้างความสงสัยให้นักการเงินจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ
เคทมองว่า โดยปกติแล้ว ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะไม่ค่อยแทรกแซงการเงิน ถ้าดูแล้วไม่วิกฤตจริงๆ ก็จะปล่อยไปตามกลไกตลาด ถึงตอนนั้นหากแม้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่ทำอะไร ต่างประเทศก็จะทำอยู่ดี เหมือนกรณีที่เกิดขึ้นในยุค 80’s กับเหตุการณ์ plaza accord ที่เป็นจุดรุ่งเรืองและจุดเริ่มต้นของวิกฤตการล่มสลายทางการเงินของเอเชียเช่นกัน !!
ยุคนั้น ค่าเงินเยนอยู่ที่ 250 เยนต่อดอลลาร์ ค่ะ !!
พีคๆก็ 275 /USD. หลังจากข้อตกลง P.A. ค่าเงินก็แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ บริเวณ 120-150 jpy/usd. เรียกว่ารวยกันภายในพริบตา
ถามว่า แล้วเงินเยนตอนนี้อ่อนค่าระดับไหน อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 25 ปี ที่ 141-144 jpy /usd แต่ก็เทียบกับในอดีตยุคนั้นไม่ได้ ซึ่งแม้แต่ปีก่อนเองก็ยังอ่อนค่ามากกว่านี้ ตอนนั้นแตะระดับ 151jpy และนั่นก็เป็นช่วงที่ BOJ เทขายพันธบัตรดอลลาร์ออกมาราว 6หมื่นกว่าล้านดอลลาร์
แสดงว่า แท้จริงแล้วการจะบอกว่าไม่แทรกแซงก็ดูจะไม่จริง เพียงแต่ว่า ณ จุดนี้ BOJ มีตัวเลขการจัดการในใจ กรณีนี้ก็ยึดที่ บริเวณ 151+ ถือว่าเป็นแนวต้านสำคัญ ในรอบ 30 กว่าปี
อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงต้องใช้ปริมาณเงินจำนวนมาก แต่ได้ผลแค่ระยะสั้นๆ
การที่ญี่ปุ่นจัดว่าเป็นประเทศที่ถือครองสกุลเงินดอลลาร์มากที่สุดในโลกราวๆ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ การถือครองเงินปริมาณระดับนี้น่าจะทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นใจระดับหนึ่ง จึงไม่สะทกสะท้านต่อการอ่อนค่าของเงินเยน อีกทั้งยิ่งดอลลาร์แข็งค่า ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อการคลัง
ทีนี้ถ้าเราดูอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นตอนนี้ ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ(3-4%)เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่เจอปัญหานี้ ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยุงราคาพลังงานเอาไว้ด้วยทำให้เงินเฟ้อยังอยู่ในจุดที่ไปต่อได้ รัฐบาลประเมินว่าราคาพลังงานจะลดลง (ซึ่งก็ลดลงจริง)
ทำให้ BOJ ดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม เคทมองว่าปัจจัยที่ว่ามาข้างต้นเหล่านั้นดูจะไม่ค่อยมีน้ำหนักที่พอจะเป็นคำตอบที่ดีได้
การจะปรับนโยบายการเงิน ตามหลักก็ต้องดูความสอดคล้องของนโยบายเศรษฐกิจและบริบทภายใน
ดังนั้น เคทมองว่า การทำนิ่งของ BOJ เคทมองว่า สอดรับกับการที่ ญี่ปุ่นต้องการผลักดัน เศรษฐกิจการท่องเที่ยว กับการส่งออกมากกว่า โดยเฉพาะกับการส่งออก หลังจากที่ญี่ปุ่นเผชิญภาวะขาดดุลสูงที่สุดในรอบ 40กว่าปี และความต้องการกลับมาเป็นเบอร์หนึ่งของประเทศส่งออกอีกครั้ง หลังถูกสั่นคลอนตำแหน่งนี้โดยเฉพาะการส่งออกรถยนตร์จากจีน
(อดีตญี่ปุ่นการส่งออกเป็นรองเพียงแค่สหรัฐ พอเข้ากลางยุค 90 ตัวเลขส่งออกค่อยๆลดลง จนปัจจุบันดัชนีส่งออกลดลงกว่า 50%)
ถ้าทิศทางการอ่อนค่าของสกุลเงินเยนยังเป็นไปในทิศทางนี้อยู่ หรือ ทรงตัวอยู่ จะทำให้โอกาสการฟื้นตัว(recovery)ทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นดูสดใสขึ้นหลังจากอยู่ในภาวะถดถอยมานานกว่า 30ปี ตัวเลขท่องเที่ยวญี่ปุ่นนั้นสูงพอๆกับไทย แต่ยอดใข้จ่ายต่อหัวนั้นสูงกว่ามาก การส่งออกอุตรสาหกรรมรถยนตร์ แม้จะออกตัวช้า แต่ระยะกลางแนวโน้มจะไม่เป็นรองจีนอย่างแน่นอน
ทีนี้กลับมาในด้านการเทรดเราจะพิจารณาอย่างไรต่อ
ถ้าในส่วนของเทรดค่าเงินFX.
บริเวณ 141-151 มองว่าเป็นจุดที่ต้องเริ่ม take profit เก็บกำไร โดยมีแนวต้านที่สำคัญคือ บริเวณกรอบ 151-156 ตรงนี้ยังไงก็ต้องล็อคกำไรและถือ sell แทน สรุปกรอบ 141-151 เหมาะแก่การแบ่งไม้สะสม sell และควรเริ่มลดฝั่ง buy เพื่อล็อคกำไร
ในด้านตลาดหุ้น
- สิ่งแรกเราจะพิจารณา ว่าใดบริษัทฯ ที่มีผลต่อการส่งออกของญี่ปุ่น เช่น บริษัทที่รับผลิตชิ้นส่วนหรือ วัตถุดิบ ให้กับประเทศญี่ปุ่น (ชิ้นส่วนรถยนตร์,ยาง,แผงวงจร) หรือ นิคมอุตรสาหกรรมที่เป็นส่วยขยายกำลังการผลิต
ทั้งนี้รวมถึง บริษัทกิจการที่นำเข้าจากญี่ปุ่นเช่นกัน ก็จะได้ประโยชน์ในส่วนของต้นทุนที่ลดลง พวกนี้ย่อมได้อานิสงส์ไปด้วย
ส่วนพวกที่มีฐานส่งออกไปญี่ปุ่น อาจจะได้รับผลกระทบจากยอดสั่งซื้อที่ลดลง เช่น อาหาร สินค้าแปรรูป ต้องระวัง - พิจารณาศักยภาพตัวโปรดักส์ และความแข็งแกร่งของบริษัท จากข้อที่ 1 ว่ายังได้การตอบรับในตลาดดีหรือไม่ หากยังดี อยู่ ก็พิจารณาเพิ่มน้ำหนักการลงทุน แต่หากไม่ก็ต้องลด
- พิจารณาติดตามนโยบายของภาครัฐทั้งไทยและญี่ปุ่นอยู่เสมอ ว่าเอื้อให้กับการลงทุนหรือธุรกิจประเภทไหนเป็นพิเศษรึไม่ เพราะสิ่งนี้หมายถึง การส่งเสริม หรือ ดิสรัปธุรกิจได้เลย นโยบายมีผลต่อ ความมั่งคั่ง เป็นอย่างมาก เช่น ภาครัฐไทยมีนโยบายยกเว้นภาษีบริษัทที่ต้องการผลิตรถยนตร์อีวีในไทย หรือ ส่งเสริมอุตรสาหกรรมผลิตแผงวงจร ชิพ ในไทย หรือ ยกเว้นภาษีที่ดิน ฯลฯ ตรงนี้ต้องดูให้ดีๆ
ตรงนี้ กลับกัน นโยบายของญี่ปุ่นก็ต้องติดตามให้ดี การอ่อนค่าเงินที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดนโยบายสนับสนุนให้เกิดการย้ายการผลิตกลับได้ ตรงนี้จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนได้เลยทีเดียว
เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไร ขอเชิญเสนอแนะ แชร์แลกเปลี่ยนกันค่ะ
มิ้วๆนะ
ที่มา : https://web.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0z1HoYekN672A3FQ4tbVCy6wUJF8cwF8wgJ91zFPKSgmiTuqaji4QCm6Y8Tw4P9eal&id=100010403208238&mibextid=qC1gEa&_rdc=1&_rdr