หน้าแรกสังคมข่าวดี!!'หมอยง'ชี้'วัคซีนแบบลูกผสม'อาจดีต่อการรับมือไวรัสกลายพันธุ์'โอไมครอน'

ข่าวดี!!’หมอยง’ชี้’วัคซีนแบบลูกผสม’อาจดีต่อการรับมือไวรัสกลายพันธุ์’โอไมครอน’

วันที่ 30 พ.ย. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์ Omicron พอได้ข่าวว่าไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ไปถึง 50 ตำแหน่ง และบริเวณหนามแหลมสไปท์ มีการเปลี่ยนแปลงไปมากถึง 30 ตำแหน่ง ฟังดูแล้วน่าตกใจ จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในกลุ่มRNAไวรัส สำคัญที่ว่าตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนั้น ทำหน้าที่อะไรมีความสำคัญแค่ไหน มากกว่าจำนวนที่เปลี่ยนแปลง
.
ไวรัสตัวนี้มีพันธุกรรมทั้งสิ้น รวมหมดเกือบ 30,000 นิวคลีโอไทด์ ถ้าเปลี่ยนแปลงไป 50 หรือ 100 ต่อ 30000 ก็มีความเป็นไปได้ เพราะผ่านมา 2 ปี
แต่ที่สำคัญเวลาพูดถึงหนามแหลมสไปท์ จะมีประมาณ 4,000 นิวคลีโอไทด์ และเป็นกรดอะมิโนประมาณ 1,270 กรดอะมิโน การเปลี่ยนแปลงไป 30 ใน 1270 ถ้าบอกว่า 30 ดูว่าเยอะก็ได้ เป็นเรื่องธรรมดาก็ได้ แต่สำคัญขึ้นอยู่กับว่าเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไหนมากกว่า
.
การเปลี่ยนแปลง 30 ใน 1270 รูปร่างโครงสร้างของหนามแหลมสไปท์ ก็ยังคงรูปร่างเดิม แต่ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เหมือนเช่น มนุษย์เรา ก็ยังคงเป็นมนุษย์ แต่หน้าตา ถ้ามีการแต่งเติมเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หล่อขึ้น หรือขี้เหร่ ก็มีความเป็นไปได้ เมื่อมองจากภายนอก ก็ยังคงเป็นมนุษย์อยู่นั่นเอง ความจำ ถ้าเจอหน้าเจอตาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ก็ยังจำได้ว่าเป็นใคร ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนรูปร่างไม่เหมือนเดิม หาเป็นเช่นนั้นไม่
.
ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในหนามแหลมสไปท์ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ อาจจะลดลงไปบ้าง ไม่ใช่หายหมดอย่างสิ้นเชิง เช่นถ้าเรามีภูมิต้านทานสูงเราป้องกันได้ 90% เจอสายพันธุ์ใหม่ก็อาจจะลดลง เหลือ 80 เปอร์เซ็นต์ และถ้าภูมิต้านทานต่ำลงเปอร์เซ็นต์ก็จะต่ำลงตามอัตราส่วนลงมา อย่างในอดีต สายพันธุ์อู่ฮั่นที่ใช้ทำวัคซีนก็ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้น
ทำนองเดียวกันสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ภูมิต้านทานป้องกันลดลง ก็อาจจะจำเป็นที่ต้องมีภูมิต้านทานสูงไว้ก่อน หรือถ้าลดลงมาก ตัววัคซีนเองก็ต้องเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเลย ต้องใช้สายพันธุ์ตัวใหม่ Omicron รอการศึกษา
.
การป้องกันในระบบภูมิต้านทาน คงไม่ได้ใช้ระบบภูมิต้านทานต่อหนามแหลมสไปท์ เท่านั้น ในไวรัสทั้งตัว มีโปรตีนชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งโครงสร้างและไม่ใช่โครงสร้าง มากถึง 25 ชิ้น หนามสไปรท์เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยู่ยื่นออกมา ไว้เกาะ กับเซลล์มนุษย์ วัคซีนมีจุดมุ่งหมายสร้างภูมิต้านทาน มาขัดขวาง แต่ความเป็นจริงระบบภูมิต้านทาน อาจจะจำเป็นที่จะต้องใช้ต่อส่วนอื่นของตัวไวรัส เช่นส่วนเปลือก envelope ส่วน nucleocapsid และจะมีอื่นๆที่เราไม่รู้ ทำไมระบบภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อ จะปกป้อง ได้ดีกว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนที่ทำมาจากส่วนสไปท์เท่านั้น เพราะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทั้งตัวไม่ใช่มีแค่หนามแหลมสไปท์
.
การติดเชื้อ สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ถ้าร่วมกับ ภูมิต้านทานจากวัคซีน จะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงมาก ที่เรียกว่าเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม hybrid immunity และสามารถป้องกันได้ดีกว่า ในทำนองเดียวกันการให้วัคซีนเชื้อตาย เป็นการจำลองการติดเชื้อ มีภูมิต้านทานต่อทั้งตัวไวรัส รวมหนามแหลมด้วย และเมื่อร่วมให้กับวัคซีนอื่น ที่เป็นหนามแหลมสไปรท์ ก็น่าจะอนุมานได้ว่าทำไมภูมิต้านทานจึงสูงขึ้นมาก และน่าจะเป็นแบบภูมิต้านทานลูกผสม hybrid immunity
.
ในอนาคตชื่อว่าการศึกษาภูมิต้านทานแบบลูกผสม น่าจะช่วยในการสนับสนุน ป้องกันการกลายพันธุ์ของไวรัส เพราะระบบภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัส ไม่มีเฉพาะแค่หนามแหลมสไปท์อย่างเดียวเท่านั้น บ้านเรามีวัคซีนหลากหลายมาก การใช้วัคซีนแบบลูกผสม อาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์ก็ได้
.

ThePOINT #ข่าวสังคม #โควิด #วัคซีน #หมอยง #ยงภู่วรวรรณ #ไวรัสกลายพันธุ์ #โอไมครอน #Omicron

Must Read

Related News

- Advertisement -