หน้าแรกสังคมขอ อ.ย. ทบทวน ปม 'ฉลากโภชนาร่วม' ภาษา ตปท. 'กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม' ชี้ อาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพแข่งขันในภาคเอกชนไทย

ขอ อ.ย. ทบทวน ปม ‘ฉลากโภชนาร่วม’ ภาษา ตปท. ‘กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม’ ชี้ อาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพแข่งขันในภาคเอกชนไทย

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2567 ตัวแทนผู้ประกอบการบริษัทยักษ์ใหญ่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เช่น บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอลอุตสาหกรรม จำกัด บจก. ซีโน่-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) บจก.ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) บจก.ดีพีโอ (ไทยแลนด์) บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้งส์ จำกัด บริษัท Fonterra บริษัทMars Wrigley และ Nestle (Thai) เดินทางเข้าพบหารือ นายเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อ.ย.) ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายแพทย์ ณรงค์ อภิกุลวณิชเลขาธิการอ.ย.

โดยตัวแทนผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ขอให้อ.ย.ทบทวนใน 5 ประเด็น เรื่องการพิจารณาการแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการภาษาต่างประเทศตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามบัญชีหมายเลข 1 ท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุขฉบับที่ 445 ที่ยังมีความไม่คล่องตัวในทางปฏิบัติ โดยกรณีนี้อาจส่งผลทำให้ประเทศคู่ค้าประเทศอื่น ๆ มองและตีความไปว่า ประเทศไทยออกมาตรการดังกล่าวมาโดยมีเจตนากีดกันทางการค้าได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของเอกชนไทยเองด้วย

ขณะที่ 5 ประเด็นจากตัวแทนผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ประกอบด้วย

  1. ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจมีแนวโน้มเพิ่มการจัดทําฉลากร่วมสําหรับขายในหลายๆประเทศ(“ฉลากร่วม” หรือ SharedPackaging/multi-language) เพื่อลดการจัดทําฉลากแยกประเทศหรือใช้สติ๊กเกอร์โดย ไม่จำเป็นซึ่งนอกจากลดต้นทุนแล้วยังมีส่วนช่วยลดขยะอย่างเห็นได้ชัดอันเป็นนโยบายของประเทศต่างๆ 2.การจัดทําฉลากร่วมที่มีการวางจําหน่ายในหลายประเทศนั้นผู้ประกอบการจําเป็นต้องจัดทําฉลาก ร่วมนั้นๆให้เป็นไปตามความต้องการของประเทศคู่ ค้าอื่นๆ ด้วยรายละเอียดของกรอบข้อมูลฉลากโภชนาการจึงแตกต่างกันไปไม่เหมือนรูปแบบที่กำหนดของประเทศไทย

นอกจากนี้ 3.โรงงานผลิตอาหารในประเทศจํานวนมากมีการผลิตเพื่อส่งออก หากสามารถจัดทํากรอบข้อมูล โภชนาการภาษาอื่นให้เป็นไปตามความต้องการของประเทศคู่ค้าได้ด้วยผู้ผลิตไทยย่อมได้เปรียบในการแข่งขันทั้งด้านต้นทุนและระบบการจัดการต่างๆในคลังสินค้า 4.ข้อมูลในกรอบโภชนาการภาษาต่างประเทศที่ต่างจากรูปแบบตามข้อกําหนดของประเทศไทย ยังคงเป็นข้อเท็จจริงของสินค้านั้นๆ ทางกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มได้รวบรวมรูปแบบกรอบข้อมูลโภชนาการตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ซึ่งมีการจัดทำรูปแบบที่แตกต่าง จากประเทศไทยและตัวอย่างกรอบข้อมูลโภชนาการในฉลากร่วมที่วางจำหน่าย ในประเทศไทยและในต่างประเทศ และ5. การกําหนดให้ต้องขอความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.)สําหรับกรอบข้อมูล โภชนาการภาษาต่างประเทศกรณีแยกกรอบทําให้เป็นการสร้างภาระให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการโดยไม่จําเป็น ตามเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น

ทั้งนี้ในการจำหน่ายสินค้าที่วางจำหน่ายในหลายประเทศ จะใช้ “ฉลากร่วม” หรือ ซองผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากโภชนาการของหลายประเทศที่วางจำหน่ายสินค้า เพื่อเป็นการลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งรูปแบบของฉลากโภชนาการและวิธีการคิดคำนวณสารอาหารในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน ซึ่งในทางปฏิบัติที่ผ่านมาแต่ละประเทศจะพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องเฉพาะฉลากโภชนาการในส่วนของประเทศตน โดยไม่พิจารณาประเทศอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้ซองผลิตภัณฑ์แต่ละสินค้ามีฉลากโภชนาการของหลายประเทศ และฉลากโภชนาการของแต่ละประเทศนั้นอาจมีรูปแบบหรือข้อมูลที่มีรายละเอียดแตกต่างกันได้ ซึ่งหากเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริงก็สามารถวางจำหน่ายได้

ส่วนกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 445) พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เรื่อง ฉลากโภชนาการ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 จะส่งผลให้สำนักงาน อ.ย. มีหน้าที่จะต้องตรวจสอบฉลากโภชนาการของทุกประเทศให้สอดคล้องตามรูปแบบและวิธีการคิดคำนวณสารอาหารตามกฎหมายไทยตามที่ประกาศฉบับดังกล่าวกำหนด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติเพราะรูปแบบและวิธีการคิดคำนวณสารอาหารในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ และในทางปฏิบัติที่ผ่านมาก็ไม่มีประเทศใดดำเนินการในลักษณะที่จะตรวจสอบฉลากโภชนาการของประเทศอื่นให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศตนเอง

อย่างไรก็ตาม ในการหารือรองเลขาฯ อ.ย. กล่าวว่านโยบายรัฐบาลให้ความสำคัญกับการให้ประเทศไทยเป็น kitchen of the world ครัวไทยเป็นครัวโลก กฎระเบียบต่างๆ จึงควรส่งเสริมเรื่องการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร ขณะเดียวกัน อย.ให้ความสำคัญเรื่องคาร์บอนเครดิต การลดการใช้ทรัพยากร ซึ่งการใช้ฉลากร่วมสอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การส่งเสริมการค้าการส่งออก เพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ โดยอ.ย.ทราบถึงปัญหาของผู้ประกอบการดี ซึ่งจะนำข้อมูลที่หารือร่วมกันนั้นนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบการเพื่อหาทางออกต่อไป

Thepoint #Newsthepoint

กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Must Read

Related News

- Advertisement -