เว็บไซต์ Legal Advance Solution (LAS) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประจำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอนุกรรมการกฎหมายและสิทธิประโยชน์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยแพร่บทความโดย คุณธันย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระบุว่า
แนวทางกฎหมายสำหรับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในอาคารชุด: การดำเนินการสำหรับเจ้าของร่วมและคณะกรรมการนิติบุคคล
กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวส่งผลให้อาคารชุดได้รับความเสียหายทั้งในส่วนของทรัพย์ส่วนบุคคล (ห้องชุด) และทรัพย์ส่วนกลาง (โครงสร้างอาคาร เสา ผนังรับน้ำหนัก ทางเดิน ลิฟต์ สระว่ายน้ำ) เจ้าของร่วมและกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดควรดำเนินการในเบื้องต้น
- ประสานงานกับบริษัทประกันภัย: ประสานงานกับบริษัทประกันภัยประสานงานกับบริษัทประกันภัยควรรีบแจ้งเคลมและประสานงานกับบริษัทประกันภัย
- ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ: ประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ
- การแต่งตั้งคณะทำงานพิเศษ: นิติบุคคลอาคารชุดอาจแต่งตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อติดตามและดูแลเรื่องการซ่อมแซมหรือการเลิกอาคารชุด
การดำเนินการขั้นตอนทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ทางนิติบุคคลอาคารชุดควรดำเนินการตามกฎหมาย :
- การตรวจสอบและประเมินความเสียหาย
- จัดให้มีวิศวกรโครงสร้างตรวจสอบ: นิติบุคคลอาคารชุดควรจัดให้มีวิศวกรโครงสร้างหรือผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบความเสียหายโดยเร่งด่วน (ตามมาตรา 36(2) ที่ให้อำนาจผู้จัดการในกรณีฉุกเฉินดำเนินการได้)
- ประเมินความเสียหายทั้งระบบ: ทั้งทรัพย์ส่วนกลางและทรัพย์ส่วนบุคคล เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
- การจัดประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
- เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ: ผู้จัดการต้องเรียกประชุมวิสามัญโดยเร็ว (ตามมาตรา 42/2) เพื่อพิจารณาความเสียหายและแนวทางแก้ไข
- ประเด็นที่ต้องลงมติ:
การซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลาง (ตามมาตรา 48(6)) ต้องใช้มติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด
หากกรณีเสียหายรุนแรงจนอาจพิจารณาเลิกอาคารชุด ต้องใช้มติเอกฉันท์ (ตามมาตรา 51(2))
- การดำเนินการซ่อมแซมกรณีความเสียหายไม่รุนแรง
- ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลาง: เจ้าของร่วมทุกคนต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนที่แต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
- การซ่อมแซมส่วนบุคคล: ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทรัพย์ส่วนบุคคลตกเป็นภาระของเจ้าของห้องชุดนั้นๆ (ตามมาตรา 18 และ 50 วรรค3) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมอาคารที่เสียหายสำหรับที่เป็นทรัพย์ส่วนกลาง ให้เจ้าของร่วมทุกคนในอาคารชุดเฉลี่ยออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ส่วนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสำหรับที่เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลให้ตกเป็นภาระของเจ้าของห้องชุดที่เสียหายนั้น
- กรณีความเสียหายรุนแรงจนอาจต้องเลิกอาคารชุด ตามมาตรา 51 อาคารชุดที่ได้จดทะเบียนไว้อาจเลิกได้ด้วยเหตุดังนี้
(1) ในกรณีที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุด แล้วแต่กรณี ขอเลิกอาคารชุด
(2) เจ้าของร่วมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกอาคารชุด
(3) อาคารชุดเสียหายทั้งหมด และเจ้าของร่วมมีมติไม่ก่อสร้างอาคารนั้นขึ้นใหม่
(4) อาคารชุดถูกเวนคืนทั้งหมดตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
สุดท้าย ไม่ว่าจะตัดสินใจซ่อมแซมหรือเลิกอาคารชุด การดำเนินการต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเป็นสำคัญ
Thepoint #Newsthepoint
แผ่นดินไหว #ประเทศไทยแผ่นดินไหว
ธันย์ธรณ์เทพแย้มอุทัย #การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
#LegalAdvanceSolution