ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล”คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสาขารัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น สิงห์สยามโพล แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,632 คน วันที่ 21–30 เมษายน 2565 เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 (หลังวันรับสมัคร) โดยผลการสำรวจ พบว่า
1)แนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแนวโน้มในการตัดสินใจเลือก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 604 คน คิดเป็นร้อยละ 37.0 รองลงมาคือ งดออกเสียง จำนวน 232 คน คิดเป็นร้อยละ 14.2 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 อัศวิน ขวัญเมืองจำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 12.0 อื่นๆ จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 6.6 สกลธี ภัททิยกุล จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 4.4 รสนา โตสิตระกูลจำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 3.7 และสุดท้ายคือ ศิธา ทิวารี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7
2) กระแสการเมืองระดับชาติมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,180 คน คิดเป็นร้อยละ 72.3 และเห็นว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจ จำนวน 452 คน คิดเป็นร้อยละ 27.7
3) ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยเหตุผลใด พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก นโยบายของผู้สมัคร จำนวน 1,076 คน คิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาคือ ชื่อเสียงของผู้สมัคร จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 17.6 อื่นๆ จำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 10.8 ป้ายและสื่อ จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 และสุดท้ายคือ หมายเลขผู้สมัคร จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 2.2
4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรอิสระ จำนวน 1,048 คน คิดเป็นร้อยละ 64.2 และควรสังกัดพรรคการเมือง จำนวน 584 คน คิดเป็นร้อยละ 35.8
5) ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ด้วยเหตุผลใด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก นโยบายของผู้สมัคร จำนวน 1,072 คน คิดเป็นร้อยละ 65.7 รองลงมาคือ ชื่อเสียงของผู้สมัคร จำนวน 284 คน คิดเป็นร้อยละ 17.4 อื่นๆ จำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 13.7 หมายเลขผู้สมัคร จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7 และสุดท้ายคือ ป้ายและสื่อ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5
6) หัวคะแนนมีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) หรือไม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่มีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจ จำนวน 876 คน คิดเป็นร้อยละ 53.7 และมีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจ จำนวน 756 คน คิดเป็นร้อยละ 46.3
.
จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกว่ากึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ต่างเห็นว่า บทบาทของหัวคะแนนยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า การอิงอาศัยหัวคะแนนที่อยู่ในพื้นที่ให้เป็นผู้วางฐานคะแนนเสียงก็สามารถปรับเปลี่ยนแนวโน้มของอันดับการเลือกตั้งของผู้สมัครลำดับรองให้สามารถเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งในท้ายสุดได้
.