นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 3 แกนนำราษฎรเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง โดยระบุบางช่วงบางตอนว่า อะไรทำให้รู้ว่า ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป แต่เป็นความพยายามที่จะล้มล้างการปกครอง การล้มล้างการปกครอง มีความหมายเดียวกับ การปฏิวัติ “ปฏิวัติ”ความหมายของคำว่า ปฏิวัติ คือ เปลี่ยนแปลงทั้งหมดอย่างฉับพลันทันใด,การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองด้วย
.
อาริสโตเติลอธิบายการปฏิวัติทางการเมืองไว้สองประเภท ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเป็นอีกฉบับหนึ่งโดยสมบูรณ์ (ซึ่งก็หมายถึง การล้มล้างรัฐธรรมนูญ),การดัดแปรรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิม
.
“ปฏิรูป”ความหมายของคำว่า ปฏิรูป คือ ปรับปรุงให้เหมาะสม ปรับปรุงให้ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป การชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีการประกาศของ”กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1″ ซึ่งระบุข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ที่เป็นประเด็นสำคัญในข้อกฎหมาย ได้แก่ ยกเลิกมาตรา 6 ,ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
.
สิ่งที่ทำให้รู้ว่า ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป แต่เป็นความพยายามที่จะล้มล้างการปกครอง ได้แก่ ความพยายามที่จะให้มีการยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112 เนื่องจาก ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” โดยมี”พระมหากษัตริย์”เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับประชาธิปไตย หากปล่อยให้มีใครละเมิดพระมหากษัตริย์ได้ ก็เท่ากับละเมิดประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน ความพยายามในการละเมิดพระมหากษัตริย์ คือการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็นความพยายามในการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็เท่ากับความพยายามล้มล้างการปกครอง
.
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำวินิจฉัยว่า “การใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีมูลเหตุจูงใจ ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง”
.
“….หากยังคงให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 และองค์กรเครือข่าย กระทำการดังกล่าวต่อไป อาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
.
“ด้วยเหตุข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง.และสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 รวมถึงองค์กรเครือข่าย เลิกการกระทำดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรค 2”
.
หลังคำวิวินิจฉัยเสร็จสิ้น รุ้ง ปิยะบุตร และแกนนำ ยังคงเคลื่อนไหวและกล่าวว่า ที่ศาลตัดสินว่า“…ให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 รวมถึงองค์กรเครือข่าย เลิกการกระทำดังกล่าว”.องค์กรเครือข่าย ที่ศาลอ้างถึงคือใคร กลุ่มใด เป็นพยายามของผู้ถูกร้องหรือแกนนำ และผู้อยู่เบื้องหลังองค์กรเครือข่าย เพื่อจะปฏิเสธว่า ไม่มีเครือข่ายอะไร เพื่อปกป้องให้เครือข่าย ได้เดินหน้าเคลื่อนไหวต่อไป หากผู้ถูกร้องหรือแกนนำถูกดำเนินคดี
.
ทั้งที่ผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ใช้คำเรียกตนเองว่า “กลุ่มแนวร่วม” ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้เป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียว หรือแค่แกนนำ 3 (อานนท์ รุ้งและไมค์) แต่เป็นการกระทำร่วมกันของ”กลุ่มแนวร่วม” ซึ่งมีความหมายเดียวกัย “เครือข่าย”
.
หลักฐานสำคัญก็คือ มีการอ่านประกาศของ”กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ให้ยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112 ในภาพประกอบด้านล่าง คือภาพที่เบื้องหน้า ประกาศ ปฏิรูป แต่ข้อความด้านหลังเขียนชัดเจนว่า ต้องการ ปฏิวัติ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นว่า ศาล”รู้ทัน”กลุ่มแนวร่วม” เพราะในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า”ผู้ถูกร้องที่ 1-3 มี ‘เจตนาซ่อนเร้น’ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป”
.
ซึ่งไม่ว่าแกนนำที่อยู่เบื้องหน้าหรือที่อยู่เบื้อหลังโดยแอบอยู่ใต้กระโปรงนักศึกษา และกลุ่มเครือข่ายแนวร่วม จะอ้างว่า ตั้งใจเพียงแค่ ปฏิรูป แต่เชื่อได้สนิทใจว่า ทั้งหมดทุกคนรู้ดีอยู่แก่ใจว่า ตนเอง ต้องการปฏิวัติ ไม่ใช่แค่ ปฏิรูป คนที่โกหกผู้อื่นและโกหกได้แม้กระทั่งโกหกตนเอง ยังมีความชอบธรรมอะไรมาอ้างว่าทำไปด้วยความหวังดี แต่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และราษฎร เพราะคำกล่าวอ้างนั้นย่อมมีแต่การโกหกทั้งสิ้น ออกมาสาบานซิ…ว่าไม่จริง
.
ถ้าจริงขอให้ตนเองและวงศ์ตระกูลฉิบหาย 7 ชั่วโคตร และขอให้การกระทำเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่มีวันสำเร็จทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ทักษิณ ธนาธร ปิยะบุตร พิธา ช่อ เจี๊ยบ รุ้ง เพนกวิน อานนท์ ไมค์ ฯลฯ กล้าสาบานไหม กล้ารับคำท้าหรือไม่การไม่กล้ารับคำท้า ก็คือยอมรับแต่โดยดีนั้นเอง
.
- Advertisement -