เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2567 นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า ผู้ป่วยรายนี้เดินทางเข้ามาประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2567 เวลาประมาณ 18.00 น. มีประวัติมาว่าจากประเทศแทบแอฟริกา ซึ่งมีการระบาดของฝีดาษวานรสายพันธุ์ Clade 1B ซึ่งไปต่อเครื่องบินที่ประเทศตะวันออกกลาง ก่อนเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย
ต่อมา วันที่ 15 ส.ค. 2567 ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้และมีตุ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก่อนจะเดินทางไปโรงพยาบาล พอซักประวัติแล้วสงสัยว่าเข้าข่ายโรคฝีดาษวานร กระทั่งตรวจฝีดาษวานร Clade 2 ปรากฏว่าเป็นผลลบ และตรวจฝีดาษวานร Clade 1B ปรากฏว่าผลไม่ชัดเจน
จากนั้นได้ตรวจยืนยันว่าใช้โรคฝีดาษวานรหรือไม่ อีกวิธีคือการใช้ยีน ปรากฏว่าเป็นโรคฝีดาษวานรแน่นอน แต่ไม่ใช่สายพันธุ์ Clade 2 และ Clade 1B ยังไม่ชัดเจน จะต้องนำยีนไปตรวจต่อ แม้จะยังไม่ 100% แต่จำเป็นต้องให้ข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบว่ามีผู้ป่วยสงสัยที่ค่อนข้างเชื่อได้ว่าป่วยฝีดาษวานร ซึ่งมาจากต่างประเทศ
สำหรับระบบในการติดตามผู้สัมผัสนั่งใกล้ผู้ป่วยบนเครื่องบินนั้น เรามีการสืบเพื่อควบคุมโรคและติดตามแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยรายนี้หลังจากลงเครื่องบินแล้ว มีเวลาสัมผัสกับคนอื่นสั้นมาก เพราะมาถึงประเทศไทยในเวลา 6 โมงเย็น แล้ววันรุ่งขึ้นก็ไปพบแพทย์เลย แล้วอยู่โรงพยาบาลเลย ซึ่งก็ได้ส่งทีมไปสอบสวนโรคและหาผู้สัมผัส ซึ่งติดตามผู้สัมผัสประมาณ 21 วัน เพื่อให้รู้ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง ทั้งหมดคือระบบการควบคุมป้องกันโรคของกรมควบคุมโรคประเทศไทย
ส่วนผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชาวยุโรป อาศัยอยู่ในประเทศแทบแอฟริกาที่มีการระบาด แล้วก็นั่งเครื่องบินมาที่ตะวันออกกลาง ก่อนต่อเครื่องบินมาลงที่ประเทศไทย ส่วนอาการล่าสุดของผู้ป่วยนั้น ไม่มีอาการรุนแรง คาดว่าวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. 2567 จะยืนยันได้ 100% ว่าเป็นสายพันธุ์อะไร
ทั้งนี้ WHO องค์การอนามัยโลก ได้มีการประกาศให้ ‘ฝีดาษลิง’ เป็นภาวะฉุกเฉิน หลังพบการระบาดรุนแรงในหลายประเทศ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ก็ได้มีการออกมาเตือนภัยความเสี่ยงจากเชื้อ เอ็มพ็อกซ์ หรือฝีดาษลิง หลังพบผู้ป่วยที่ สวีเดน ซึ่งเป็นรายแรกที่พบในยุโรป
การติดต่อของ โรคฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร นั้นติดได้ง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจและการสัมพัสกับผู้ป่วย โดยหลาย ๆ ประเทศได้เน้นย้ำถึงประชาชนเรื่องการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง โดยให้เฝ้าระวังตัวเองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แแออัดร่วมถึงคนพลุกพล่าน หมั่นทำความสะอาดจุดที่สัมผัสร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการติดต่อ
โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คน ได้แก่ สัตว์จำพวก หนู กระรอก และลิง ร่วมถึงจากคนสู่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
-ผัสที่ตื่นโดยตรง สัมผัสเลือด สัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาลาย การไลจาม หรือจากสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
-ติดต่อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จากทางเดินหายใจ พบในผู้ที่อยู่ใกล้ชิด พูดคุยกันเป็นเวลานาน
-ติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางรกได้