เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2566 ดร.พรชัย มาระเนตร์ อดีตผู้สมัคร สส. ปาร์ตี้ลิสท์ พรรคชาติพัฒนากล้า ได้พูดถึงหมออ๋อง หรือ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ สส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล ระบุว่า
สิ่งที่ ปดิพัทธ์ ทำ
ไม่ใช่ประชาธิปไตย
ไม่ใช่ปดิพัทธ์ คนเดียว หรือก้าวไกลพรรคเดียวที่ต่อต้านทุนผูกขาด
แต่วิธีการตามแนวทางประชาธิปไตยคือการรับฟังความเห็นของทุกกลุ่มแล้วมาลงคะแนนโหวตผ่านตัวแทนประชาชน
ปดิพัทธ์ ไม่ลงคะแนนให้ พรบ.สมรสเท่าเทียมได้ เพราะเหตุผลทางศาสนา ที่ปดิพัทธ์อ้างว่าตนเป็นตัวแทน
ดังนั้นการจัยกเลิก ม.32 การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของ พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 หรือแก้ไข พรบ.ทั้งฉบับ ทำไมไม่ใช้วิธีทางประชาธิปไตยไปโหวตแก้กฏหมายในสภา
ตอนปี 51 สสส. และเครือข่ายเมาไม่ขับ เป็นเครือข่ายหลักในการรณณงค์ให้สภาผ่านกฏหมายนี้ ไม่ใช่เครือข่ายทางศาสนาแบบที่ชอบพูดให้เข้าใจผิด
ถึงศาสนาที่มีคนนับถือมากสองอันดับต้นของไทยคือ พุทธ และ อิสลาม จะมีข้อปฏิบัติและข้อห้ามเกี่ยวกับ การดื่มแอลกอฮอล์ แต่เหตุผลของการห้ามโฆษณาในตอนนั้นคือ การลดอำนาจผูกขาดของนายทุน แบบการขายเหล้าพ่วงเบียร์ หรือการลดราคาเพื่อทุ่มตลาดจนรายย่อยไม่สามารถสู้ได้
แต่อย่างที่ทราบกัน เมื่อ ม.32 ประกาศออกมาแล้วมีการปรับคนทำผิด โดยเจ้าหน้าที่รัฐได้ส่วนแบ่งค่าปรับเป็นสัดส่วนที่สูง จึงมีการนำกฏหมายนี้มาจับปรับ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายย่อย จนช่วงนึงมีข่าวลือว่า ผอ.ส่วนงานที่เกี่ยวข้องของกรมควบคุมโรคได้เงินส่วนแบ่งหลายล้านบาท
กฏหมาย ม.32 มีช่องโหว่นำมากลั่นแกล้งประชาชน และตัดตอนไม่ให้ผู้ผลิตรายย่อย ได้ทำการตลาดแข่งกับทุนใหญ่ ซึ่งผมเห็นด้วยกับการแก้ไข พรบ.ควบคุมฯ นี้ทั้งหมด เพื่อลดผลกระทบจากแอลกอฮอล์ที่แท้จริงคือการ “เมาแล้วขับ”
ดังนั้น ในความเป็นประชาธิปไตย ปดิพัทธ์ ควรนำเรื่องนี้ไปคุยในสภา รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย
เครือข่ายเมาไม่ขับอาจขอให้การงดโฆษณาในสื่อหลักยังมีอยู่ จนกว่าจำนวนอุบัติเหตุและการบาดเจ็บเสียชีวิตจากการเมาแล้วขับลดลง ได้หรือไม่
ซึ่งบางพรรคการเมืองที่ทำงานกับเครือข่ายเมาไม่ขับก็ตั้งใจแก้กฏหมายให้โฆษณาในพื้นที่จำหน่ายได้ เพราะกฏหมายห้ามจำหน่ายแก่เด็ก และคนเมาอยู่แล้ว (ซึ่งคนไม่รู้ว่ามีกฏหมายนี้) การโฆษณาให้คนที่ตั้งใจจะดื่มอยู่แล้วจึงไม่น่าผิด
หาก ปดิพัทธ์ เป็นนักประชาธิปไตย และเป็นตัวแทนของกลุ่มความคิด เหมือนที่ตนเองสงวนสิทธิไม่โหวตกฏหมายสมรสเท่าเทียมโดยอ้างศาสนา การแก้ไข พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มฯ ก็ต้องให้สิทธิกลุ่มที่เสนอกฏหมายนี้ได้มีโอกาสพูดและชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาแก้ไขกฏหมายนี้เพราะอะไร
การทำผิดกฏหมายเหมือนท้าทาย ไม่น่ารักและไม่เป็นประชาธิปไตย เหมือนดูถูกคนที่เรียกร้องให้ออกกฏหมายนี้เป็นคนไม่ดี และด้อยกว่าตัวเอง
นักประชาธิปไตย ไม่ควรหลงตัวเองจนไม่ฟังเสียงที้งฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเสียงข้างน้อยมากๆ ที่ไม่มีโอกาสส่งตัวแทนเข้าสภา
วันนี้ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเมาแล้วขับมีตัวแทนในสภาหรือไม่ จำนวนคนในเครือข่าย อาจน้อยกว่าเครือข่ายชาวคริสเตียนที่ปดิพัทธ์เป็นตัวแทนจนไม่โหวต พรบ.สมรสเท่าเทียม
แต่การปิดกั้นและไม่ฟังปัญหาจากการไม่บังคับใช้กฏหมาย เมาไม่ขับ ยังเป็นปัญหาในสังคมอยู่. ทุกคืนยังมีอุบัติเหตุจากสุรา จนมีคนต่ยและบาดเจ็บ
ปดิพัทธ์เอง ควรตั้งใจในการทำหน้าที่ ผู้แทนในระบอบประชาธิปไตยมากกว่านี้นะ
ที่มา https://www.facebook.com/1182415034/posts/pfbid02LeNg6jNbuyDUfHx2fRY3ZgSX6GryqubenpJZzadhEKmfXBWS5utaXt5FqV9Wa1HDl/?mibextid=cr9u03