หน้าแรกสังคมชาวแม่ฮ่องสอน โอกาสมาถึงที่!แม้ช่วงโควิด"โครงการสร้างป่าสร้างรายได้"ดึงเอกชนลงทุนกว่า 20 บริษัท สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่

ชาวแม่ฮ่องสอน โอกาสมาถึงที่!แม้ช่วงโควิด”โครงการสร้างป่าสร้างรายได้”ดึงเอกชนลงทุนกว่า 20 บริษัท สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU การส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผลผลิตวนเกษตร ของราษฎรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่าง จังหวัดแม่ฮ่องสอน , กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน, และภาคเอกชน
.
บันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการพัฒนาและการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตวนเกษตร ให้มีปริมาณ คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ในระดับสากล ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมจากวัตถุดิบซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของราษฎรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามพระราชดำริฯ และผลิตผลของราษฎรในพื้นที่โครงการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนผลผลิตจากการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
.
ด้านผู้ใช้เฟซบุ๊ก”Oran farming” โพสต์ข้อความถึงโครงการดังกล่าวระบุว่า แม่ฮ่องสอน จนที่สุดถ้าดูจากตัวเลข GDP ของจังหวัด แต่ก็บอกว่า คนแม่ฮ่องสอน มีความสุขมากที่สุด (GHP) แต่ผมถามว่าจริงหรือเปล่า หรือเป็นแค่คำปลอบใจ คนจน คนจนจะมีความสุขยังไงถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมให้ลูก ส่งลูกเข้าโรงเรียนดีดี จ่ายค่ารักษาพยาบาล ต้องไปช่องผู้ป่วยอนาถา นี่หรือ…ความสุข
.
สร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ และมั่นคง ควรจะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ คือช่องทางแก้ไขปัญหาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะพื้นที่
86.99% คือพื้นที่ป่าไม้ แต่ประชากรของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นชาวเขาและชนเผ่าต่างๆ ซึ่ง อาศัยอยู่ในป่ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ทางการประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวน จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ระหว่างประชาชน กับราชการ
โครงการ “สร้างป่า สร้างรายได้” เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2556 ที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน และ อ.นาแห้ว จ.เลย ต่อมามีการขยายพื้นที่ไปอีกหลายอำเภอ และยังขยายต่อไปยัง จ.เชียงใหม่ ตาก และแม่ฮ่องสอน
.
การพัฒนาต้องอาศัย 3 เสา
เสาแรก.. ภาคประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติ
เสาสอง.. ภาคเอกชน ร่วมลงทุนและพัฒนา
เสาสาม.. ภาครัฐ ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของชุมชน
นี่คือแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันนี้แม่ฮ่องสอนมีโอกาสการลงทุนสูง
.
กระทรวงอุตสาหกรรม โดนท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม นายธีระยุทร วานิชชัง ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาด้านการส่งเสริมแปรรูปสินค้าเกษตร โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้าเกษตรจะร่วมมือกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีภาคเอกชนมาลงทุนกว่า 20 บริษัท บริษัท อะลาดิน คอเปอเรชั่น จำกัด ส่งเสริมกัญชงเพื่ออุตสาหกรรม บริษัท กอมังดี จำกัด ส่งเสริมเรื่องไม้ไผ่ ทั้งมารับซื้อและ แปรรูป เพิ่มมูลค่า บริษัท ฮิโนต้า(ประเทศไทย) จำกัด ส่งเสริมนวัตกรรมเครื่องจักรเกษตร
.
โดยจะมีการร่วมกันสนับสนุนการฟื้นฟูป่า การสร้างอาชีพ สนับสนุนผลิตผลที่ไม่ใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อคนละสิ่งแวดล้อม ร่วมมือจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากรการเกษตร การป่าไม้ และการผลิตสินค้าเพื่อการวางแผนการส่งเสริมการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยพัฒนาเพิ่มมูลค่าแก่พืชวนเกษตร สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงแบบคลัสเตอร์แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่น พร้อมพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นต้นไป #แม่ฮ่องสอน #สร้างป่าสร้างรายได้
.
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU การส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผลผลิตวนเกษตร ของราษฎรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามพระราชดำริ สมเด็จ
.

ThePOINT #ข่าวสังคม #แม่ฮ่องสอน #โครงการพระราชดำริ #โครงการสร้างป่าสร้างรายได้

Must Read

Related News

- Advertisement -