กลายเป็นกระแสในโลกออนไลน์ จากควันหลงการดีเบตระหว่างนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในหัวข้อ”เลิก-แก้-ไม่แตะ 112″ ผ่านรายการมีเรื่อง Live EP.14 ที่ออกอากาศผ่านช่องทางยูทูบ ดำเนินรายการโดย น.ส.จอมขวัญ หลาวเพ็ชร โดยหลังจบรายการ ปรากฏว่า มีผู้คนจำนวนมากแสดงความเห็นชื่นชมนายอรรถวิชช์ โดยส่วนใหญ่มองว่าให้เหตุผลที่ดี น่าฟัง และมีน้ำหนักดีในบริบทของโลกสังคมจริง และยังอธิบายขยายความให้คนดูเข้าใจง่าย แต่นายปิยบุตร พูดวกไปวนมา
.
ด้านน.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ “โบว์” นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความเห็นต่างนายปิยบุตร โดยระบุว่า “เวลาใครบอกว่าอยากให้การหมิ่นประมาทเป็นแค่โทษทางแพ่งเพื่อส่งเสริม free speech และให้สังคมรู้จักอดทนอดกลั้น นี่คือคุณกำลังบอกว่าให้คนถูกละเมิดอดทนต่อการกระทำของผู้ละเมิดนะคะ”
.
น.ส.ณัฏฐา ยังโพสต์ด้วยว่า“เราไม่ได้ต้องไปสั่งสอนใครว่าให้พูดจาหรือทำตัวอย่างไร แค่ไม่คอยปลุกปั่นความเกลียดชังหรือให้ท้ายเวลาเขาทำผิดก็พอ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ ทุกคนก็เห็นกันอยู่ว่าใครมีบทบาทอย่างไรด้วยวิธีไหนบ้างก่อนจะมาถึงวันนี้” และโพสต์อีกว่า “การให้พระมหากษัตริย์ฟ้องเองไม่ควรอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่าท่านรู้สึกอย่างไรแล้วโยนให้ท่านตัดสินใจ เพราะกฎหมายนี้ไม่ได้ปกป้องตัวบุคคล แต่ปกป้องตำแหน่งประมุข จึงเป็นเรื่องของรัฐ ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล”
.
นอกจากนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Withawatt Cozy Tansuhaj’โพสต์ข้อความว่า 112 ควันหลงเมื่อวานที่อ่านความเห็นว่อนทางโซเซียลมีเดีย มีเรื่องจะออกความเห็นบ้าง มีความเห็นบางคนบอกว่าควรให้องค์กษัตริย์ฟ้องเอง หรืองานส่วนพระองค์ฟ้อง อันนี้เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด ที่สำคัญคือมันผิดความหมายของหลักการ เพราะกฎหมายนี้ไม่ได้ปกป้องบุคคล แต่ปกป้องตำแหน่งสถานะและตำแหน่งนั้นคือประมุขของรัฐ
.
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐบาลโดยตรงที่จะฟ้องร้องเพื่อปกป้องสถานะของพระองค์ ถ้าหากมีการแจ้งเรื่องราวจากประชาชน บางความเห็นบอกมาเกรียนเกรียนว่าเขาไม่เลือกทำไมต้องปกป้อง ถ้าเขาเลือกสิถึงควรจะปกป้อง อันนี้ตรรกะเพี้ยนมากจริงจริง เพราะถึงประมุขของรัฐจะมาจากการเลือกตั้ง เช่นอเมริกา มันก็ต้องมีทั้งคนแพ้และคนชนะเลือกตั้ง ถ้าหากคนที่คุณเลือกแพ้เลือกตั้ง แปลว่ากฎหมายคุ้มครองประมุขของรัฐไม่มีผลกับคุณหรือ คำตอบก็คือไม่ คุณก็ไม่มีสิทธิละเมิดจาบจ้วงคนที่คุณไม่ได้เลือกอยู่ดี
.
คนที่บอกว่าไม่ได้เลือก ไม่อยากปกป้อง ก็จาบจ้วงได้ ไม่น่าจะเชื่อในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง น่าจะเป็นพวกลัทธิบุคคลนิยมมากกว่า ที่กฎหมายลักษณะ 112 ยังคงมีในทุกประเทศ สาเหตุสำคัญ่คือเอาไว้กันไม่ให้เกิดคนยกพวกมาตีกัน เพราะตรรกะปัญญาอ่อนแบบข้างบนนั่นแหละ
.
ขณะที่นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “รศ.ดร.ปอดแหก” ระบุว่า ที่ผมโพสต์ว่า ปิยะบุตร ไม่กล้าเจอ ดร.อานนท์กับ ดร.นิว แต่กล้ามาเจอ อรรถวิทย์ เพราะ 1. กลัวความสามารถ ข้อมูล และตัวตนของ ดร.อานนท์และดร.นิว 2. ดูถูกว่า ดร.อานนท์และดร.นิว ว่า เทียบตัวเองซึ่งเป็นนักการเมืองระดับแกนนำไม่ได้
.
แต่ที่ ปิยะบุตร กล้าเจอกับอรรถวิทย์ เพราะ1. อรรถวิทย์ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งเป็นนักการเมืองอยู่ในระดับเดียวกับตัวเอง 2. ประเมิน อรรถวิทย์ เอาไว้ต่ำ ปิยะบุตรถือตัวว่า ตัวเองเป็นนักวิชาการระดับ รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์ ที่ผันตัวมาเป็นนักการเมือง ซึ่งมีความรู้สูงกว่านักการเมืองทั่วไป ทำให้เขาไม่กลัวนักการเมืองหน้าไหน แต่กลับกลัวนักวิชาการหรือประชาชนที่มีการศึกษาสูง ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองฝั่งตรงข้ามกับตน สุดท้าย หนีเสือปะจระเข้ เพราะอรรถวิทย์เป็นจระเข้ หนีเสือบอยเสือนิว กระโดดลงน้ำ ปะจระเข้อรรถวิทย์เข้าไปต่อจากนี้คงต้องคิดหนักกว่าเก่าถ้าต้องไปเจอกับใครและคงกลับไปแอบอยู่ใต้กระโปรงเด็กเหมือนเคย
.
“สังเกตอะไรมั้ยว่าเสือบอย เสือนิว สิงค์รงค์ หรือจระเข้อรรถวิทย์ กล้าไปขึ้นเวทีเอียงๆ ทุกเวทีที่มีผู้ดำเนินรายการเอียงๆแต่ รศ.ดร.ป๊อก, อย่าพูดถึงเวทีที่จัดโดยฝ่ายจงรักภักดีหรอก, เอาเวทีที่ผู้จัดไม่เอียง รศ.ดร.ป๊อก ก็ไม่เคยกล้าไปเลยใครแน่กว่า ไม่ต้องคิดให้ยากเลย”
.
- Advertisement -